Uzbekistan-Tajikstan Part 8 ซาร์มาคันด์(Samarkand) 18 เมษายน 2567
ทนง ตันชวลิต ทนง ตันชวลิต
367 subscribers
73 views
0

 Published On May 7, 2024

Uzbekistan-Tajikstan
Part 8 ซาร์มาคันด์(Samarkand)
18 เมษายน 2567

วันนี้เที่ยวเมืองซามาคันต์ทั้งวัน
ไปหลายที่ผมจำไม่ได้ว่า ที่ไหนเรียกว่าอะไร ได้ไปหมดทุกที่ตามโปรแกรมหรือไม่
ลอกโปรแกรมท่านผู้นำเอามาให้อ่านเกือบทั้งดุ้น
ที่จำได้คือ ใช้เวลาในตลาดกลางนานมากกกกกก

เมืองซาร์มาคันด์ (Samarkand) นครหลวงแห่งศิลปกรรมในเอเชียกลาง เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรองจากกรุงทาชเคนต์ มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 2,750 ปี ถือเป็นหนึ่งในเมืองเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความเก่าแก่เทียบเท่ากรุงโรม ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของรัฐซอกเดียน่า (Sogdiana) อันเกรียงไกร และกลายมาเป็นศูนย์กลางของเอเชียกลางภายในยุคสมัยของมหาราชนามว่า ติมูร์ ซามาร์คันด์ ได้เจริญรุ่งเรืองจากความเป็นศูนย์กลางการค้าบนเส้นทางสายไหมที่พาดผ่านเอเชียกลาง ได้รับฉายาว่า กรุงโรมของโลกตะวันออก

จัตุรัสเรจีสถาน (Registan Square) เป็นจัตุรัสกลางเมืองซามารคานด์ ที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ งดงามไปด้วยศิลปะอิสลามซึ่งถูกกล่าวขานว่ามีความงดงามที่สุดในเอเชียกลาง ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีฟ้าตัดขอบด้วยสีเหลือง รายล้อมไปด้วยโรงเรียนสอนศาสนาถึง 3 แห่ง คือ
อุลุกเบก (Ulug Beg) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก
เชียดอร์ (Shir Dor) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ผนังกำแพงมีลวดลายรูปทรงเรขาคณิต และซุ้มประตูมีรูปเสือลายพาดกลอน ที่แตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมทั่ว ๆ ไปของศาสนาอิสลาม
ทิลยาคารี (Tilys Kari) สร้างขึ้นทางด้านเหนือในศตวรรษที่ 17 และใช้เวลาสร้างประมาณ 20 ปี ซึ่งผนังและซุ้มในกำแพงมีการปิดทองมากกว่าที่อื่นใด ภายในเป็นสถานที่ฝังพระศพของราชวงศ์ รวมถึงมีหลุมศพของเอมีร์ ติมูร์ ที่เตรียมไว้แต่ไม่ได้ใช้ฝังร่างจริง

สุสาน กูร์ อะมีร์ (Gur-e- Amir Mausoleum) สถานที่ฝังศพของหลานชายสุดที่รักของข่านติมูร์ (Timur) นามว่า มูฮัมมัด สุลต่าน (Muhhamed Sultan) สร้างในปีค.ศ. 1404 หลังจากนั้น 1 ปี ติมูร์ (Timur) เสียชีวิตลง โอรสของติมูร์จึงได้ย้ายสุสานของติมูร์มารวมกับหลานชายสุดรัก สุสานแห่งนี้จึงนับได้ว่าเป็นที่ฝังพระศพของผู้พิชิตแห่งเอเชียกลางในสมัยโบราณ วีรบุรุษประจำชนชาติเอเชียกลางผู้สืบเชื้อสายมาจากเจงกิสข่าน สถานที่แห่งนี้มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก โดยเฉพาะส่วนโดมหลังคา

มัสยิดบีบีคานิม (Bibi-Khanum Mosque) มัสยิดบีบีคานิม สร้างโดยบัญชาของข่านทิเมอร์ ในปี ค.ศ. 1399-1404 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยใช้ช่างฝีมือจากหลายประเทศ เพื่อให้เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังอํานาจโลกมุสลิม ที่สามารถปกครองดินแดนได้มากกว่าใครในประวัติศาสตร์ และการพิชิตดินแดนในอินเดียได้ ปัจจุบันได้รับการบูรณะที่แม้จะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็รับรู้ได้ถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต
ตรงทางเข้าสู่จัตุรัสมัสยิดมีขนาดพื้นที่ยาวประมาณ 167 เมตร และกว้าง 109 เมตร และสองข้างยังมีมัสยิด ขนาดเล็ก โดยเฉพาะตัวโดมได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ ภายในตกแต่งด้วยหินอ่อนแกะสลักโมเสครูปร่างต่าง ๆ เคลือบด้วยสีฟ้างดงาม

หอดูดาวอูลุกเบก (Ulugbeg Observatory) สร้างโดยข่านอุลุกเบก (หลานของติมูร์) ในปีค.ศ. 1428-1429 เป็นอาคาร 3 ชั้นสูง 30 เมตร ด้านบนยอดคล้ายโดมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวการสำรวจทางดาราศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ดูดาว สะท้อนอัจฉริยภาพของข่านอุลุกเบก ที่ท่านได้คำนวณรอบปีเฉียดไปเพียงเล็กน้อย อีกทั้งแผนที่โลกเองยังถูกวาดขึ้นครั้งแรกที่นี่ รวมถึงท่านยังเป็นผู้คิดค้นสูตรคณิตศาสตร์อีกด้วย

ไม่ได้เข้าไปดู ถ่ายรูปเฉพาะข้างนอก เพราะเสียเงินเข้า และคิดว่าไม่มีอะไรน่าสนใจ
คนเฝ้าเดินมาทำท่าเหมือนจะไล่เรา เราก็จะเดินลงมาบันไดที่เราขึ้นมา แต่เขาบอกให้เราลงมาอีกทาง เราก็จะลงทางเดิม จนเขาทำมือ ถึงได้รู้ว่า เขาให้ลงมาทางนี้ให้ถ่ายรูปกัน ตรงนี้เป็นอนุสาวรีย์ข่านเอลุกเบก ผนังด้านหลัง ข่านเอลุกเบก สวย เป็นกระเบี้องเคลือบ ผมดูแล้ว คิดว่า ผู้สร้างคงจะแสดงถึงจักรวาล
ผมชอบ คิดลองถ่ายภาพคนดู ผมไม่ถนัดในการถ่ายภาพคน คนที่ถ่ายภาพคนจากมือถือเก่ง ผมเห็นคนหนึ่งในทริป ราชาสถาน เขาชื่อสมพงษ์ เขาถ่ายคนกับสถานที่ต่าง ๆได้สวยจนผมทึ่ง ระดมนางแบบนายแบบมาลองกล้องกัน จัดเต็ม ผลออกมาดูได้จากวีดีโอนี้

สุสานชาคี ซินดา (Shakhi-Zinda Mausoleums) มีความหมายว่า เป็นที่อยู่ของกษัตริย์ (The Living King/Necropolis) ตั้งอยู่บนเนินเขาอัฟราซิยาบ (Afrasiyab) นอกกำแพงเมือง เป็นที่รวบรวมสุสานขนาดใหญ่ เรียกได้ว่าเป็น Necropolis หรือป่าช้าของเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ซึ่งเป็นความคิดของข่านทามาเลนที่ต้องการให้ชาคี ซินดา แห่งนี้เป็นศูนย์กลางของสุสานของบุคคลที่มีชื่อเสียง มีอาคารหลายยุคหลายสมัย ทั้งยังเป็นที่แสวงบุญของชาวอิสลามเทียบเท่าได้กับนครเมกกะ ประกอบด้วยอาคารหลายยุคหลายสมัย ที่งดงามด้วยกระเบื้องเคลือบโบราณ
ในความเห็นผม ที่นี่สวยสุด

ตลาดกลาง (Central Market/Siyab Bazaar) ได้เวลาละลายทรัพย์ ทั้งแลกเงินทั้งซื้อของ ใช้เวลาที่นี่หลายชั่วโมง ทุกคนซื้อพวกผลไม้แห้ง ถั่วต่าง เช่น พิชาชิโอ ลูกพิกซ์ แอปปริคอต ลูกเกด อะไรประมาณนี้ ๆ ผมหอบกลับมารวมแล้ว 4 กิโล ดูเหมือนท่านผู้นำมากที่สุด 8 กิโล ยังสงสัยว่า แบกกลับได้ไง

แหล่งโบราณสถานอัฟราซิยาบ (Afrasiyab Ruins) ชื่อเนินมีความหมายว่า ถัดจากแม่น้ำดำ (Beyond the Black River) ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเมืองซามาร์คานด์ เป็นสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยซากโบราณสถานอายุ 700-600 ปีก่อนคริสตกาล สะท้อนอารยธรรมของพวกซ๊อกเดียน ที่ตั้งเมืองขึ้นบริเวณริมแม่น้ำ และบนที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ ที่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองซามาร์คันด์

กลับที่พัก ยังมีแรงกัน เดินออกมาดูแสงสีที่จัตุรัสเรจีสถาน (Registan Square) จำได้ว่า พวกเรานั่งดูผู้คน แสงสี กินไอติมกัน
พักที่ รร.เดิม Tilyakori Hotel เมืองซามาร์คันด์

นงชลิต
8/5/67/7.42

show more

Share/Embed