"เสริมภูมิคุ้มกัน ด้วย โพรไบโอติก" : หมอชวนคุย :【คุยกับหมออัจจิมา】
คุยกับหมออัจจิมา คุยกับหมออัจจิมา
58.9K subscribers
370 views
0

 Published On Jan 19, 2024

เสริมภูมิคุ้มกัน ด้วยโพรไบโอติกส์
โดย : ดร.แพทย์หญิงอัจจิมา สุวรรณจินดา

#โพรไบโอติก คืออะไร มีประโยช์อย่างไร
#โพรไบโอติก ( #Probiotics ) คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา ทำหน้าที่ในการช่วยดูแล ปกป้องระบบร่างกาย ทั้งระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัง ระบบปัสสาวะ รวมถึงในช่องปาก

#โพรไบโอติก ที่อยู่ในร่างกายของเรามีประโยชน์หลากหลายด้าน ทั้งทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น #ปรับภูมิต้านทาน ควบคุมการอักเสบ #ควบคุมระบบฮอร์โมน เสริมสร้างการทำงานของเซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เยื่อบุในระบบทางเดินอาหาร ควบคุม #การดูดซึมวิตามิน และยังกระตุ้นการทำงานของผิวทำให้ #ผิวสวย โดยประโยชน์ที่โดดเด่นของ #โพรไบโอติก คือการ #รักษาสมดุลลำไส้ และระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังมีการศึกษาพบว่าในกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรค #ลำไส้แปรปรวน เมื่อรับประทาน #โพรไบโอติก แล้วจะทำให้ความรุนแรงของอาการ เช่น #ท้องเสีย #ท้องผูก #ท้องอืด #ปวดท้อง ลดน้อยลงได้

#โพรไบโอติก มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของ #ลำไส้ (Gut Health) โดยตรง ซึ่งหากเรามีสุขภาพของ #ลำไส้ ที่ดี จะส่งผลให้การทำงานของสมองดีตามมาด้วย มีงานวิจัยทางการแพทย์มากมายที่กล่าวว่า #ลำไส้ และ #สมอง มีการติดต่อสื่อสารกัน จะสังเกตเห็นได้ว่าหากเรา #เครียด จะมาพร้อมกับอาการ #ท้องไส้ปั่นป่วน หรือในคนไข้ที่มีปัญหาทางด้านการจัดการอารมณ์ #สมาธิสั้น หรือ #ซึมเศร้า ก็มาจากความไม่แข็งแรงของลำไส้และระบบทางเดินอาหารได้เช่นกัน อีกทั้ง #สุขภาพของลำไส้ ยังเกี่ยวข้องกับตับ หากลำไส้มีสุขภาพที่ไม่ดี จะส่งผลให้ตับทำงานหนัก โดย #โพรไบโอติกส์ นั้นสามารถช่วยในการลด #ไขมันเลว หรือ #LDL ที่เป็นสาเหตุของภาวะ #ไขมันพอกตับ หรือ #โรคหัวใจ ได้

70% ของเซลล์ในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ #ระบบภูมิต้านทาน อยู่ที่ #ลำไส้ ดังนั้นหาก #ลำไส้ ไม่แข็งแรงจะส่งผลให้ภูมิต้านทานไม่ดีไปด้วย โดยในคนไข้ที่มีปัญหาเรื่อง #ภูมิคุ้มกันผิดปกติ #ภูมิแพ้ #ผื่นเรื้อรัง หรือ #ภาวะภูมิไวเกิน มักเริ่มต้นจากการอักเสบหรือติดเชื้อในระบบ #ลำไส้ ดังนั้นควรกลับไปดูว่า #ลำไส้ นั้นมีปัญหาหรือไม่ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้

2 วิธีง่ายๆ ช่วยเพิ่มโพรไบโอติก บูสระบบลำไส้
1. เลือกรับประทานอาหารที่มี #โพรไบโอติก สูง เช่น #กิมจิ #โยเกิร์ต #นมเปรี้ยว #ดาร์กช็อกโกแลต #น้ำส้มสายชู (Apple Cider Vinegar) #ถั่วนัตโตะ #ซุปมิโซะ และ #ชาหมักคอมบูชา โดยในแต่ละอาหารนั้นควรจะเลือกประเภทของจุลินทรีย์ด้วยว่าเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีหรือไม่ แต่หากเรามีการรับประทาน #โพรไบโอติกส์ มากเกินไป อาจะส่งผลเสียภาวะย่อยอาหารที่ผิดปกติได้
2. รับประทานอาหารที่มี “ #พรีไบโอติก ” ซึ่งเป็นอาหารของ #โพรไบโอติกส์ โดยสามารถพบได้ใน #ผักใบเขียว #หัวหอม #กระเทียม #หน่อไม้ #กล้วย #แอปเปิ้ล #ข้าวโอ๊ต และ #ข้าวบาร์เลย์

พฤติกรรมที่ส่งผลทำลาย หรือทำให้ #โพรไบโอติก ลดน้อยลง ได้แก่
1. การรับประทาน #ยาปฏิชีวนะ หรือ #ยาลดกรด ซึ่งส่งผลเสียกับระบบย่อยอาหาร
2. การดื่ม #แอลกอฮอล์
3. การสูบ #บุหรี่
4. การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
5. การมี #ความเครียด สูง
6. การไม่ออกกำลังกาย
7. ความเสื่อมตามวัย

ดังนั้นเราควรที่จะหมั่นเติม #โพรไบโอติก ให้กับร่างกายด้วยวิธีการที่คุณหมอแนะนำไปข้างต้น และหยุดพฤติกรรมที่ไปทำลาย #โพรไบโอติก เพื่อให้ลำไส้แข็งแรง ร่างกายสมบูรณ์ และผิวพรรณสวยงาม อีกทั้งควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ตัวจุลินทรีย์ที่ถูกต้อง ถูกชนิด และปริมาณที่เหมาะสม

#โพรไบโอติก #ภูมิคุ้มกัน #คุยกับหมออัจจิมา
----------------------------------------------
เมดดิไซน์ คลินิก (อัจจิมาสหคลินิก)
-- ดร.แพทย์หญิงอัจจิมา สุวรรณจินดา --
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง
และเลเซอร์ผิวหนัง ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี

โทรศัพท์ : 0-2954-9440
Call-Center : 089-900-6100
Line : @medisci
----------------------------------------------
• Web site : https://www.mediscicenter.com
• Facebook :   / medisciclinic  
• Instagram :   / medisci_clinic  
• Tiktok :   / medisciclinic  
• Twitter :   / medisci  
• E-mail : [email protected]

show more

Share/Embed