"โรคสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้" : หมอชวนคุย :【คุยกับหมออัจจิมา】
คุยกับหมออัจจิมา คุยกับหมออัจจิมา
58.9K subscribers
446 views
0

 Published On Jan 9, 2024

โรคสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้
โดย : ดร.แพทย์หญิงอัจจิมา สุวรรณจินดา

#เช็คอาการ โรคสมาธสั้น!
ผู้ใหญ่ก็สามารถมีอาการหรือภาวะ #โรคสมาธิสั้นได้ โดยที่ #โรคสมาธิสั้น ใน #ผู้ใหญ่ จะมีลักษณะ ทำอะไรแล้วไม่จบ ทำไม่เสร็จ มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย

วิธีสังเกตุว่าเราเป็น #โรคสมาธิสั้น ทำอย่างไร ?
#ผู้ใหญ่สมาธิสั้น ส่วนใหญ่เป็นมาตั้งแต่เด็ก หรืออาจมีเรื่องของ #กรรมพันธุ์ ที่สืบทอดมาจากพ่อแม่พี่น้อง ที่มีประวัติ #ป่วยจิตเวท รวมไปถึง การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม คลอดก่อนกำหนด ภาวะความผิดปกติในระบบประสาท ตอนเด็กๆ มีการได้รับ #สารตะกั่ว หรือไม่ อาจมีภาวะ #ติดเกมส์ #ติดมือถือ หรือเปล่า เพราะสาเหตุเหล่านี้ มีผลต่อการทำงานของ #สมอง ทำให้ความจำลดลง ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ จึงส่งผลมาถึงวัย #ผู้ใหญ่ และอาจทำให้เป็น #โรคสมาธิสั้นได้

#โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ แบ่งได้กี่กลุ่ม ?
- กลุ่มที่ขาดสมาธิ ไม่สามารถโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
- กลุ่มไฮเปอร์ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ ตื่นตัวตลอดเวลา
- กลุ่มผสม มีหลากหลายแบบ หลายอาการ เช่น การงานไม่ดี บริหารเวลาไม่ได้ ส่งผลต่อสุขภาพและความเครียดต่างๆ
- กลุ่มที่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น เล่นมือถือทั้งวัน นอนดูซีรีย์ทั้งวัน
- กลุ่มที่อารมณ์ไม่ปกติ ขึ้นๆ ลงๆ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราเป็น #โรคสมาธิสั้น หรือไม่ ?
#โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่วินิจฉัยยาก และไม่มีเครื่องมือทดสอบโรคนี้ ต้องอาศัยสังเกตุตัวเองหรือคนรอบข้าง ว่ามีพฤติกรรมเข้าข่าย #โรคสมาธิสั้น หรือไม่ หรือการไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น มีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และดูว่ามีความผิดปกติของสมองร่วมด้วยหรือเปล่า รวมไปถึงการวินิจฉัยโรคอื่นๆเช่น คนไข้มีภาวะ #โรคซึมเศร้า และ #ไบโพล่า หรือไม่ เพราะการตรวจวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นนั้น ต้องตรวจแยกโรคต่างๆออกไปก่อน

#วิธีรักษาโรคสมาธิสั้น ในผู้ใหญ่
- ทานยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งยาจะมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ ยาที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาอื่นๆเช่น ยาต้าน #อาการซึมเศร้า และยาคลายกังวล
- ปรับพฤติกรรม โดยอาศัยความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา เพื่อควบคุมและปรับอารมณ์ของตัวเอง และฝึกทักษะการเข้าสังคม รวมไปถึง ฝึกการจัดเวลา และการทำงานอย่างแบบแผน วางแพลนชีวิตให้ดีขึ้น
- ปรับเรื่องของการนอน รวมไปถึงการจัดการกับความเครียด และ การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้น้อยลง และไปใช้เวลากับการออกกำลังกาย
- ปรับเรื่องของการกิน เลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีน หรือ อาหารกลุ่มน้ำตาล

#โรคสมาธิสั้น #คุยกับหมออัจจิมา
----------------------------------------------
เมดดิไซน์ คลินิก (อัจจิมาสหคลินิก)
-- ดร.แพทย์หญิงอัจจิมา สุวรรณจินดา --
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง
และเลเซอร์ผิวหนัง ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี

โทรศัพท์ : 0-2954-9440
Call-Center : 089-900-6100
Line : @medisci
----------------------------------------------
• Web site : https://www.mediscicenter.com
• Facebook :   / medisciclinic  
• Instagram :   / medisci_clinic  
• Tiktok :   / medisciclinic  
• Twitter :   / medisci  
• E-mail : [email protected]

show more

Share/Embed