รวมตำนานเมืองใต้ เป็นตำนานสำคัญที่เป็นการบอกเล่าของท้องถิ่น
เรื่องเล่าจากบันทึก เรื่องเล่าจากบันทึก
156K subscribers
76,510 views
0

 Published On Jun 5, 2024

00:00:00 ตำนานเจ้าพญาสายฟ้าฟาด
00:15:07 ตำนานนางเลือดขาว
00:38:10 ตำนานพระธาตุและตำนานเมือง - นครศรีธรรมราช
01:00:17 สรุปตำนานพระธาตุและตำนานเมือง - นครศรีธรรมราช
#ตำนานพระธาตุ
#ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช เป็นตำนานที่แต่งเป็นร้อยแก้ว มีลักษณะเป็นการบอกเล่าของท้องถิ่น ตำนานเมืองและตำนานพระธาตุผสมเข้ากับเหตุการณ์ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ เดวิด เค. วัยอาจระบุว่าตำนานเมืองนครศรีธรรมราชเป็นสำนวนที่เขียนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชน่าจะเป็นต้นเค้าให้กับตำนานอีกสองฉบับคือ ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับกลอนสวด (นิพพานโสตร)
ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2481 หลวงทำนุนิกรราษฎร์จัดพิมพ์หนังสือเป็นที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพนางสามพร้อม ณ นคร ธิดาพระยาบริรักษ์ภูเบศ (เอี่ยม ณ นคร) ต้นฉบับเป็นสมุดไทยเก่าแก่ของกรมศิลปากร เขียนด้วยหมึกดำอักษรไทยย่อ บางส่วนชำรุดและลบเลือนแล้ว อย่างไรก็ดีในการตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2517 ระบุว่าจากการตรวจสอบกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกสำนักหอสมุดแห่งชาติ ไม่พบต้นฉบับสมุดไทย จึงได้พิมพ์ตามอักขรวิธีฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก

#พญาสายฟ้าฟาด เป็นกษัตริย์ครองเมืองๆหนึ่ง มีมเหสีทรงพระนามว่าพระนางศรีมาลา ทั้งสองพระองค์มีบุตรด้วยกันองค์หนึ่งทรงพระนามว่า นวลทองสำลี วันหนึ่งหลังจากนางนวลทองสำลีตื่นจากบรรทมและ ยังไม่ทันที่จะชำระพระพักตร์ก็ได้ไปยืนระลึกถึงใน สุบินนิมิตที่ได้มีมา และพระนางก็สามารถจำได้จนหมดสิ้น จากการทรงยืนนิ่งอยู่เช่นนั้น ทำให้พวกสาวใช้สงสัยและถามพระนางว่า เพราะเหตุอันใดพระนางจึงไม่ทรงชำระพระพักตร์ ทั้งๆที่ตื่นบรรทมแล้ว พระนางตรัสว่า เมื่อคืนนี้ฝันแปลกมาก ฝันแปลกอย่างที่ไม่เคยฝันมาก่อนเลย แล้วพระนางก็ทรงเล่าความฝันนั้นให้พวกสนมฟังว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู การร่ายรำนั้นรำทั้งหมด ๑๒ ท่า เป็นท่ารำที่สวยงามมากน่าชม มีเครื่องประโคมดนตรี คือ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และ แตร การประโคมดนตรีลงกับท่ารำเป็นจังหวะ และบัดนี้พระนางก็ยังจำท่าต่างๆเหล่านั้นได้ แล้วพระนางนวลทองสำลีก็ทรงร่ายรำตามแบบที่ในฝันนั้นทันทีเป็นที่ชอบใจของพวกสาวใช้เป็นอย่างยิ่ง และพระนางก็ได้สั่งให้สาวใช้ทำเครื่องประโคมตามที่เห็นในฝันนั้น การประโคมก็ทำตามจังหวะการรำเหมือนในฝันทุกอย่าง พระนางได้ฝึกสอนให้พวกสาวใช้ได้ร่ายรำเพื่อเป็นคู่รำกับพระนาง จากนั้นมีการประโคมเครื่องดนตรีและร่ายรำเป็นที่ครื้นเครงในปราสาทของพระนางเป็นประจำทุกวัน
อยู่มาวันหนึ่งพระนางอยากเสวยเกสรดอกบัวที่ในสระหน้าพระราชวัง จึงรับสั่งให้นางสนมไปหักเอามาให้ เมื่อพระนางได้ดอกบัวแล้วก็ได้เสวยดอกบัวนั้นจนหมด กาลต่อมาพระนางก็ทรงครรภ์ แต่การเล่นรำโนราก็ยังคงสนุกสนานครื้นเครงกันเป็นประจำทุกวันมิได้เว้น อยู่มาวันหนึ่งการเล่นประโคมและความครึกครื้นนี้ทราบไปถึงพระยาสายฟ้าฟาด พระองค์ทรางสงสัยว่าด้วยเหตุใดที่ปราสาทของพระธิดาจึงมีการประโคมดนตรีอยู่เป็นประจำ พระองค์จึงได้เสด็จไปทอดพระเนตรให้เห็นจริง เมื่อเสด็จไปถึงก็รับสั่งถามพระนางนวลทองสำลีว่านางไปได้ท่ารำตางๆนี้มาจากไหน ใครสอนให้ พระนางก็กราบบังคมทูลว่า ไม่มีใครสอนให้ เป็นเทพนิมิต พระองค์จึงได้รับสั่งให้พระนางรำให้ดู เสียงดนตรีก็ประโคมขึ้นพระนางออกร่ายรำไปตามท่าที่ได้ฝันรวม ๑๒ ท่า ขณะที่พระนางร่ายรำท่าต่างๆอยู่นั้น พระยาสายฟ้าฟาดทรงเห็นว่าที่ครรภ์ของพระธิดาผิดสังเกตสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ จึงมีรับสั่งให้หยุดรำแล้วทรงถามพระนางว่า นางมีครรภ์กับใคร รักชอบกับใคร ใครเป็นสามีของเจ้า ทั้งๆที่ไม่มีผู้ชายคนใดสามารถเข้ามาในพระราชฐานได้เลย พระองค์ทรงถามซ้ำๆ

#นางเลือดขาว เป็นตำนานท้องถิ่นทางภาคใต้ของประเทศไทย ในแถบจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา ตรัง และภูเก็ต โดยสำนวนจังหวัดพัทลุงนับเป็นสำนวนหลักที่แพร่หลายกว้างขวางมานาน ส่วนตำนานแม่เลือดขาวในเกาะลังกาวี เรียกว่า มะห์สุหรี
เรื่องราวของพระนางเลือดขาวเกิดขึ้นราว พ.ศ. 1790 ช่วงเวลาที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาเถรวาทที่ไปสืบมาจากลังกา พระนางเลือดขาวเป็นนบุตรีคหบดีมีอาชีพค้าขาย เป็นคนงามด้วยเบญจกัลยาณี คือ ผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม และวัยงาม มีนิสัยโอบอ้อมอารี เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีเลือดสีขาวแต่กำเนิด ภายหลังเป็นมเหสีเอกของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช มีตำแหน่งเป็นแม่อยู่หัว เมื่อเข้าวัยกลางคนก็ยังไม่มีโอรสธิดา จึงทูลลาออกจากตำแหน่งและสร้างบุญกุศลอุทิศบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัดขึ้นมากมายทั่วเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่จะสร้างทับลงในบริเวณที่เป็นเทวาลัยเก่าของศาสนาพราหมณ์
ตำนานในท้องถิ่นแต่ละที่แตกต่างกัน แต่ในบางจังหวัดก็มีความคล้ายกัน เช่น ที่จังหวัดตรังมีบางส่วนเกี่ยวข้องกับตํานานนางเลือดขาวจังหวัดพัทลุง หรือตำนานที่จังหวัดชุมพรบางส่วนจะเกี่ยวข้องกับตํานานจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง โดยตํานานนางเลือดขาวที่เมืองตรังนั้นจะกล่าวถึงการที่พระยากุมารกับนางเลือดขาวได้สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์และยังได้จําลองรูปพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัด 1 องค์
ตำนานนางเลือดขาวที่ภูเก็ต พระนางเลือดขาวเป็นมเหสีของเจ้าเมืองหนึ่งแต่ถูกเสนาบดีใส่ร้ายว่ามีชู้กับมหาดเล็กจึงถูกให้ประหารชีวิต แม้จะแสดงความบริสุทธิ์อย่างไรก็ไม่เป็นผล พระนางจึงขอว่าก่อนตายขอเดินทางไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่ลังกา ระหว่างเดินทางพบอันตรายมากมายเกือบเอาชีวิตไม่รอด ในที่สุดกลับมาจากลังกาแล้วแวะภูเก็ต จึงได้สร้างวัดพระนางสร้าง
ขณะที่ตำนานมะห์สุหรี เรื่องราวเกิดราว พ.ศ. 2363 พระนางนับถือศาสนาอิสลาม มีพระสวามีเป็นโอรสเจ้าเมืองเกาะลังกาวี ถูกประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2362 สันนิษฐานว่าสำนวนที่เกาะลังกาวีนั้นน่าจะมีอิทธิพลจากเรื่องนางเลือดขาวในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตรัง ปากพนัง ไปสร้างเรื่องใหม่ตามเงื่อนไขของสังคมวัฒนธรรมประเพณี


#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

show more

Share/Embed