มอญ [ตอนที่1] มาจากไหน..ชนเผ่าโบราณที่สันนิษฐานว่าในช่วงประมาณ 56,000ปีมาแล้ว อาศัยอยู่ 35จังหวัด
เรื่องเล่าจากบันทึก เรื่องเล่าจากบันทึก
157K subscribers
137,790 views
0

 Published On Nov 22, 2023

#มอญ | มาจากไหน..ชนเผ่าโบราณที่สันนิษฐานว่าในช่วงประมาณ 56,000 ปีมาแล้ว
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11–13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม. พบที่นครปฐมและอู่ทองนั้น พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร” และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง ทำให้เชื่อได้ว่า ชนชาติมอญโบราณ ได้ตั้งอาณาจักร #ทวารวดี (บางแห่งเรียกทวาราวดี) ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีน หรือ นครชัยศรี) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไป ถึงหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ. 1100 พระนางจามเทวี ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน
เมืองนครปฐมบริเวณพระปฐมเจดีย์ และใกล้เคียงมีการพบจารึกอักษรปัลลวะ บาลี สันสกฤต และ #อักษรมอญ โบราณ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป เสาหงส์ วิหาร และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์ร้าง จังหวัดนครปฐม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์)[35] และพบจารึกอักษรมอญโบราณ #สมัยหริภุญชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 จำนวน 7 หลัก ที่ลำพูน (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน)[48]
ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคตใน พ.ศ. 1732 อำนาจขอมก็เริ่มเสื่อมลง พ่อขุนบางกลางหาว ที่สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นอิสระจากการปกครองของขอม พ่อขุนรามคำแหง พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่ได้ครองราชย์สืบต่อมา ทรงดัดแปลงอักษรขอม และ อักษรมอญ มาประดิษฐ์เป็นลายสือไทย
ด้านจารึกภาษามอญบนใบลานนั้น พบมากมายตามหมู่บ้านมอญในประเทศไทย ส่วนที่ประเทศพม่าพบมากตามหมู่บ้านมอญในเมืองสะเทิมและเมืองไจคะมีในรัฐมอญ ซึ่งมีการคัดลอกและรวบรวมนำมาเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติเมืองย่างกุ้ง และที่ห้องสมุดมอญเมืองเมาะลำเลิง นอกจากนี้กองโบราณคดีและกองวัฒนธรรม ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม ชาดก ตำรามอญ และเคยมีการริเริ่มจัดพิมพ์พจนานุกรมมอญ-พม่าอีกด้วย

คนมอญนิยมเรียกตนเองว่า “มอญ” “รมัน” หรือ “รามัญ” ตามชื่อประเทศของตน คือ “รามัญญเทส หรือ รามัญประเทศ ส่วนความหมายนั้นไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด ชาวมอญบางคนได้อธิบายความหมายของคำว่ามอญ แปลว่า เป็นที่หนึ่ง ในแง่ที่ว่าพวกเขาเป็นที่หนึ่งในมนุษยชาติ บางคนกล่าวว่าหมายถึง ผู้นับถือพระรามปางพระนารายณ์ ปัจจุบัน #ชาวมอญในประเทศไทย นิยมเรียกตนเองว่า“ #ชาวไทยรามัญ ” คำว่า “มอญ” มักจะใช้ในการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ หรือเป็นการสื่อสารกันภายในกลุ่มส่วนคำว่า “ #รามัญ ” หรือ “ #ไทยรามัญ ” มักจะใช้ในการสื่อสารแบบทางการ สำหรับคำเรียกว่า “ตะเลง”เป็นที่เข้าใจกันในหมู่คนมอญว่า “ตะเลง” หมายถึง “อิตะเลิม” ที่แปลว่า “พ่อแม่ฉิบหายหรือบ้านแตกสาแหรกขาด” หรืออีกความหมายหนึ่งเป็นนัยแฝงการเหยียดหยามโดยแปลว่า “ เชื้อชาติอยู่ใต้ฝ่าเท้า” ซึ่งชาวมอญถือว่าเป็นการข่มเหงย่ำยีทางเชื้อชาติ ปัจจุบันคำนี้เลิกใช้กันแล้ว เพราะชาวมอญไม่ชอบชื่อนี้และไม่เคยนับว่าชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง ถึงแม้จะรับรู้ว่า ตะเลงหมายถึงมอญก็ตาม
ถิ่นกำเนิดเดิมของชาวมอญ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือบริเวณทางตอนใต้ของอินเดีย มีภาษาพูดและมีตัวอักษรเขียนของตนเอง เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ ชาวมอญได้ก่อตั้งอาณาจักรโบราณสองแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดีทวารวดี บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา กับอาณาจักรสะเทิม บริเวณลุ่มแม่น้ำอิระวดีฝั่งตะวันออกทางตอนใต้ของพม่าทั้งสองอาณาจักรมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียสู่ชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์ วัฒนธรรมมอญจึงยังคงปรากฎร่องรอยในภูมิภาคนี้จนถึงปัจจุบัน เมื่ออาณาจักรทวารวดีทวารวดีเสื่อมสลายเนื่องจากอิทธิพลของเขมร ชาวมอญทวารวะดีทวารวดีได้ถูกกลืนกลายเป็นคนไทยหรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในขณะที่อาณาจักรมอญทางตอนใต้ของพม่ายังคงอัตลักษณ์ความเป็นมอญอย่างเข้มแข็ง จนกระทั่งถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของพม่าในเวลาต่อมา จากการทำสงครามกันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คนมอญมีการอพยพเข้ามาในสยามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ปัจจุบันชาวมอญส่วนใหญ่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง โดยมีชาวมอญอาศัยอยู่ 35 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี กาญจนบุรี ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ชัยนาท เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ชัยภูมิ นครราชสีมา ปราจีนบุรี
ปัจจุบันชาวมอญที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยยังคงพยายามธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะระบบความเชื่อในการนับถือผีบรรพบุรุษและความศรัทธาในพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างแรงกล้า กลายเป็นข้อปฏิบัติทางจารีตประเพณีที่ชาวมอญยึดถือปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างเคร่งครัด โดยสะท้อนผ่านพิธีกรรม ประเพณีสำคัญ และเทศกาลต่าง ๆ ตลอดจนวิถีชีวิตในชีวิตประจำวันทั่วไประบบความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษและความศรัทธาต่อพุทธศาสนายังมีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวมอญ รวมทั้งการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นที่สุดของกลุ่มชาติพันธุ์มอญในยุคปัจจุบัน

เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

show more

Share/Embed