ถ้าเจ้าของที่ดินเสียชีวิต ใครจะมีสิทธิ์รับที่ดินมรดกบ้าง | Koy My Property Pro
My Property Pro My Property Pro
66K subscribers
33,610 views
629

 Published On Nov 7, 2022

ถ้าเจ้าของที่ดินเสียชีวิต ใครจะมีสิทธิ์รับที่ดินมรดกบ้าง | Koy My Property Pro

การโอนมรดกที่ดิน เมื่อเจ้าของที่ดินตามโฉนดที่ดิน ไม่ว่าจะ บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือเจ้าของโฉนด น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. หรือ น.ส. 3 ข. เสียชีวิตลง ที่ดินแปลงนั้นจะตกเป็นมรดกแก่ทายาทของผู้ตาย ตามกฎหมาย (กรณีไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้) หรือตามพินัยกรรมที่เจ้าของมรดกทำไว้ก่อนเสียชีวิต

ทายาท 6 ลำดับที่มีสิทธิตามกฎหมาย แบ่งลำดับสิทธิก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
1. ผู้สืบสันดาน
2. บิดา มารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับ

ผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง โดยจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา

หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ
โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
บัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนบ้าน
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
พินัยกรรม (ถ้ามี)
ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (ใบทะเบียนสมรส)
ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ
ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป คือ
คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก
ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก
โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท
ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท
ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีโอนมรดกระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส
ค่าจดทะเบียนโอนมรดก 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีโอนมรดกให้พี่น้อง ญาติ ลูกบุญธรรม หรือบุคคลอื่นๆ ตามพินัยกรรม

ค่าภาษีมรดกเพิ่มเติมสำหรับการรับมรดก 100 ล้านบาทขึ้นไป
พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก เป็นภาษีที่เก็บผู้รับมรดกจากกรมสรรพกร ซึ่งหมายรวมถึง อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ห้องชุด หรือหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น พันธบัตร บัญชีเงินฝาก ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ รวมทั้งทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ มูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยจะเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินจาก 100 ล้านบาทเท่านั้น (ไม่คิดรวม 100 ล้านบาทแรก) โดยจะแบ่งอัตราค่าเก็บภาษีสูงสุด 10% ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรตั้งไว้ คือ

1. ผู้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
2. ผู้รับมรดกเป็นบุพการี (พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวดและสูงขึ้นไป) หรือผู้สืบสายเลือดแท้ๆ (ลูก หลาน เหลน) จะต้องเสียภาษีมรดกในอัตราคงที่ 5%
3. ผู้รับมรดกเป็นญาติพี่น้องรวม หรือบุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้ให้มรดก จะต้องเสียภาษีมรดกในอัตราคงที่ 10%

#ความรู้อสังหา #การรับมรดกที่ดิน #กฎหมายแบ่งมรดกที่ดิน

show more

Share/Embed