เขมรพวงเถา : ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ขับร้อง ปี่พาทย์ไม้แข็งกรมศิลปากร
Deklenkhim Channel Deklenkhim Channel
4.01K subscribers
7,897 views
110

 Published On Apr 8, 2023

เขมรพวงเถา : ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ขับร้อง ปี่พาทย์ไม้แข็งกรมศิลปากร

ควบคุมวง : อาจารย์เสรี หวังในธรรม
ขับร้อง : ครูแจ้ง คล้ายสีทอง
ปี่ใน : ครูสุรพล หนูจ้อย
ระนาดเอก : ครูสุรเดช กิ่มเปี่ยม
ระนาดทุ้ม : ครูเผชิญ กองโชค
ฆ้องวงใหญ่ : ครูสาธิต แสงบุญ
โทน : ครูสมพงษ์ โรหิตาจล ฯลฯ

- เขมรพวงเถา -
เพลงเขมรพวงอัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับเพลงร้องสำหรับประกอบ “การแสดงภาพนิ่ง” (Tableau Vivant) ขึ้นถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีอยู่ ๘ เรื่อง แต่เฉพาะในเรื่องขอมดำดิน ทรงบรรจุทำนองเขมรพวงให้ร้องในบทของพระประทุม (ท้าวพันธุม) พระนิพนธ์ขึ้นต้นว่า “เมื่อนั้นพระประทุมสุริยวงศ์ทรงขรรค์” เนื้อร้องและทางดนตรีในชุดนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนแม้แต่ผู้ที่มิใช่นักร้องนักดนตรีก็จำเอาไปร้องกัน ด้วยความที่จำแต่เนื้อร้องจึงทำให้ผู้ที่ไม่รู้จักชื่อเพลงที่แท้จริงเรียกเพลงเขมรพวงไปตามบทร้องว่า “เขมรพระปทุม”
ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงนิพนธ์ขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น โปรดให้จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งชั้นเดียวต่อจนครบเป็นเพลงเถา
ทรงเขียนเป็นโน้ตสากลประทานให้กองดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงโดยวงโยธวาทิต มีทั้งทางร้องและทางดนตรีทั้งเที่ยวต้นและเที่ยวกลับอย่างละ ๒ เที่ยวไม่เหมือนกัน จึงต้องร้องทั้งเถายาวถึง ๑๒ ท่อน ใช้เวลาบรรเลงนานมาก บทร้องโปรดให้นางเจริญ พาทยโกศล ตัดตอนมาจากบทเสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างแล้วชมม่านฝีมือวันทอง ทางร้องทรงพระกรุณาต่อประทานคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ ด้วยพระองค์เอง
ราว พ.ศ.๒๔๖๐ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรพวงมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น ให้มีสำนวนทำนองเป็นทางกรอสำเนียงเขมร แบบเดียวกับเขมรเลียบพระนคร และเรียกชื่อตามของเดิมว่า “เพลงเขมรพวง” แม้เพลงนี้จะแต่งภายหลังเพลงเขมรเลียบพระนครแต่ก็เป็นเพลงทางกรอที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุด ยิ่งกว่าเพลงใดๆ ในบรรดาเพลงทางกรอของหลวงประดิษฐไพเราะ และถือเป็นแบบฉบับของเพลงประเภททางกรอ
เมื่อราว พ.ศ.๒๔๖๔ สมัยที่นิยมร้องเพลงเถากันโดยทั่วๆ ไป หมื่นประคม เพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน) ได้คิดตัดแต่งจากอัตรา ๒ ชั้นของเดิมลงเป็นอัตราชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา โดยทางร้องชั้นเดียวนั้น นายเหมือน ดูรยประกิต เป็นผู้คิดขึ้น.
(ที่มาประวัติเพลง : บล็อก​โพส เมฆลอย ดอทคอม)​

ที่มาภาพประกอบ : เพจดุริยสมาคม ชมรมดนตรีไทยสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

อนุเคราะห์เทปคา​สเซ็ท : อาจารย์นวราช อภัยวงศ์

เทปคาสเซ็ท ศูนย์สังคีตศิลป์ ครั้งที่ ๒๒๘ รายการ สาธิตดนตรีและนาฏศิลป์ไทย เรื่อง เขมรในวรรณคดีไทย โดย อาจารย์เสรี หวังในธรรม.

สำเนาเสียงจากเทปคาส​เซ็ท​ : ฉ​ั​ต​รกร​ เกตุ​มี
เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์​เพลงไทย​ใน​การศึกษา​ มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และแสวงหารายได้

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ :    / @deklenkhimchannel7019  

show more

Share/Embed