ส่องพระสมเด็จ หาอะไร
4 มีนา 4 มีนา
86.8K subscribers
387,513 views
8K

 Published On Dec 22, 2021

คลิปสอนดูเนื้อพระสมเด็จที่ดีที่สุด

ส่องพระสมเด็จ หาอะไร
สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ เคยสังเกตกันมั๊ยครับว่า เวลาเราส่องพระ หรือคนอื่นส่องพระ เขาส่องหาอะไรกัน เพราะถ้าดูพิมพ์ ดูตาเปล่าก็รู้ แต่ถ้าลงกล้อง เขาดูอะไรและเห็นอะไรกันบ้าง

คลิปนี้ ๔ มีนา ขออาราธนาพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์พระประธาน อกมีร่อง ซึ่งเป็นพิมพ์นิยม เนื้อขาวอมเหลือง มาอธิบายให้เพื่อนๆ ดูว่าเมื่อเราส่องพระสมเด็จ เราจะเห็นอะไร และควรจะเห็นอะไรกันบ้าง

๑ พุทธศิลป์
เริ่มต้นจากการดูพุทธศิลป์ ซึ่งจุดนี้เราจะมองด้วยตาเปล่าก็เห็นได้
พระองค์นี้เป็นพิมพ์พระพุทธประทับบนฐาน ๓ ชั้น ภายในซุ้มระฆัง ซึ่งสำหรับพิมพ์พระประธาน เราจะพิจารณาความคมชัดของพิมพ์ ส่วนที่ลึก ส่วนที่สูงขึ้นมาและความโค้งของเส้นสายต่างๆ ดูมีมิติ

พระสมเด็จยุคกลาง พิมพ์มีความปราณีต มวลสารยังไม่มาก มีเส้นกรอบพิมพ์
สำหรับพระสมเด็จ พิมพ์พระประธานหรือพิมพ์ใหญ่ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่กดเข้ามาดูคลิปนี้ คงเห็นปุ๊ปก็รู้ปั๊บเลยนะครับ

๒ เนื้อพระ
ธรรมชาติเนื้อพระองค์นี้ เป็นโซนพระเนื้ออ่อน ละเอียด เนื้อขาว ปนเหลืองจากคราบน้ำมันตังอิ๊ว สิ่งที่เราจะดูเวลาส่องเนื้อพระ ๔ มีนาจะดู ๓ จุด และเราต้องประเมินสภาพองค์พระด้วยนะครับ ว่าเก็บมาในสภาพใด เช่น เป็นพระหิ้ง พระกรุ พระเก็บในกล่อง พระเลี่ยม หรือพระใช้แบบไม่เลี่ยมปิดด้วยนะครับ เพราะความแห้ง ความฉ่ำ และคราบบนผิวพระจะแตกต่างกัน

ผิวพระด้านนอก
ความเก่า เหี่ยว
เมื่อเราส่องพระเก่า เราจะมองหาความเก่าและการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ผิวพระสมเด็จจะเหมือนมีเปลือกคลุมผิว ที่เกิดจากการงอกของแคลไซต์ พระยิ่งเก่าเปลือกผิวจะยิ่งดูหนา ผิวโดยรวมเราจะดูความเหี่ยว กร่อนของเนื้อพระตามกาลเวลา

โดยเฉพาะด้านหลัง ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการดูพระสมเด็จ ด้านหลังอาจจะเรียบ หรือเป็นรอยจากการปาดก็ตาม เราจะมองดูความเหี่ยว กร่อนของเนื้อ มวลสารต่างๆ การปริแยกของเนื้อ ซึ่งจะดูง่ายกว่าด้านหน้า เพราะมีจุดให้แต่งพิมพ์ยากกว่า

สีของผิวพระมีการเปลี่ยนแปลงจากความเก่า มีคราบน้ำว่านหรือน้ำมันอยู่ในเนื้อพระ ดูแห้งๆ แต่ส่องใกล้ๆ แล้วจะมีความฉ่ำ คราบน้ำว่านหรือน้ำมันจะดูปะปน ผสมอยู่ในเนื้อพระ เป็นจ้ำๆ ดูเป็นไล่ระดับกัน ไม่เป็นชั้นๆ

รอยแยกและหลุม
เมื่อเราพบรอยกระเทาะ หรือหลุมต่างๆ เราจะมองหาความเก่าที่ด้านในของรอยกระเทาะหรือในหลุม รอยเก่าเราจะดูคราบขาวหรือแคลไซต์ขึ้นเป็นเม็ด รอบๆ ปากหลุมหรือรอยแยก มีหลุมที่มีปากหลุมคมๆ ซึ่งเป็นจุดที่ตกแต่งยาก

ความนวล
ความนวลเป็นจุดสำคัญมากในการดูพระสมเด็จ ซึ่งบางคนจะเรียกว่า “หนึกนุ่ม” ซึ่งจุดนี้ล่ะครับที่เป็นเสน่ห์ของพระสมเด็จ ที่ทำเลียนแบบได้ยากมากๆ เมื่อเรามององค์พระ จะดูนวลตา เพราะความนวลเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของเนื้อพระปูนดิบ ที่ผุดจากด้านในเนื้อขึ้นมาคลุมเป็นเปลือกผิวไว้

แต่ถ้าเป็นเนื้อปูนสุก หรือพระยุคปลายที่มีการผ่านความร้อนสูงเพื่อให้พระเซ็ทตัวเร็วมาแล้ว เนื้อพระจะแกร่งกว่า และมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติน้อยกว่านะครับ

ผิวพระในร่อง
ผิวในร่องเป็นจุดที่โดนสัมผัสน้อยหรือไม่โดนสัมผัสเลย โดนลมหรืออากาศน้อยกว่า จึงมีการระบายความชื้นได้น้อยกว่า สิ่งที่เราจะส่องดูคือ ความฉ่ำ ความฉ่ำในร่องควรจะมีมากกว่าบนผิวพระ เนื้อพระในซอกหรือในร่องจะไม่ค่อยกร่อนเท่าผิวด้านนอก คราบน้ำว่านหรือน้ำมันมักจะสะสมปนกับคราบฝุ่น

ขอบข้าง
เราจะดูความเหี่ยวและร่องต่างๆ ที่ขอบข้าง ผิวไม่เรียบตึง มีรอยปริแยก ย่น ขอบและมุมไม่คมเป็นสัน มวลสารต่างๆ เราจะเห็นการเคลี่อนตัว รอยปาดหรือรอยครูด

๓ มวลสาร

เวลาเราส่องมวลสารพระสมเด็จ เราจะต้องดูเป็น ๒ ระดับนะครับ
๑ มวลสารบนผิว
คือมวลสารต่างๆ ที่เราเห็นได้บนผิวพระ มวลสารบังคับในพระสมเด็จที่ต้องมี คือ
ผงสมเด็จ หรือผงวิเศษมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวอมเหลือง

ผงดำหรือผงใบลาน ก้อนดินสีแดง เหล็กไหลไพรดำ แร่ดอกมะขาม
ส่วนมวลสารรองอื่นๆ เช่นคราบตะไคร่ เศษตะไบทอง ก้อนแร่สีขาวใส

๒ มวลสารใต้ชั้นผิว

สำหรับ ‪@4meena‬ มวลสารใต้ผิวเป็นจุดสำคัญที่ต้องพิจารณานะครับ เปลือกผิวพระสมเด็จเนื้อปูนดิบเก่าจะมีความใส ไม่เป็นเนื้อพระทึบๆ เราจะต้องเห็นมวลสารชั้นใต้ผิว มองให้ลึกลงไปเพื่อดูมวลสารต่างๆ ซึ่งพี่ๆ เพื่อนๆ ต้องดูในที่สว่างๆ หรือใช้กล้องไฟวงแหวน จะง่ายขึ้นครับ

เราจะดูความกร่อน ความเหี่ยวของมวลสารใต้ผิวให้ดูเป็นธรรมชาติ และเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อพระ เพราะว่าถูกผสมรวมกันมาตั้งแต่ตอนสร้าง

เมื่อเราดูเนื้อพระและมวลสารแล้ว เราต้องพิจารณาให้เห็นถึงความเก่าตามอายุ ทั้งเนื้อพระและมวลสาร โดยเฉพาะมวลสารใต้ชั้นผิว เนื้อพระมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติให้ได้มากกว่า ๑๕๐ ปี ทั้งการงอก
การกร่อน ความแห้ง ความฉ่ำ ทำให้เกิดเป็นมิติในการมอง พระผ่านความร้อนหรือไม่เพื่อประเมินยุคการสร้าง สภาพการเก็บหรือใช้มา

พระสมเด็จ ดูไม่ยากนะครับ พระเก่าต้องดูเก่านะครับ หาพระดีๆ ไว้ติดตัว เรียนรู้จากพระของพี่ๆ เพื่อนๆ เอง ครูที่ดีที่สุดคือ ธรรมชาติของพระในมือพี่ๆ เพื่อนๆ นะครับ หากชอบหรือได้ประโยชน์จากคลิปนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ ๔ มีนา ทำคลิปดีๆ ต่อไป อย่าลืมกดติดตามช่อง ๔ มีนาไว้ จะได้ไม่พลาดคลิปดีๆ มีประโยชน์
แล้วไว้พบกันใหม่
สุขกาย สุขใจครับ

show more

Share/Embed