มโนมยิทธิ คนถอดกายได้ ปาฏิหาริย์3 กฎอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท พุทธวจน
TangNibbana Buddhawajana TangNibbana Buddhawajana
201K subscribers
173,706 views
4.8K

 Published On Mar 24, 2022

#มโนมยิทธิ #คนถอดกายได้ #ปาฏิหาริย์3 #ปฏิจจสมุปบาท
หมวดมโนมยิทธิ
ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการ นิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ.

เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้ เป็นกายมีรูป สำเร็จจากใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม;

(ถอดออกมาได้) เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่งชักไส้หญ้าปล้องออกจากหญ้าปล้อง เขากำหนดได้ว่า นี่หญ้าปล้อง นี่ไส้หญ้าปล้อง, หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้หญ้าปล้องเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ไส้นั้น ชักออกมาจากหญ้าปล้องนั้นเอง,

อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่งชักดาบออกจากฝัก เขากำหนดได้ว่า นี่ดาบนี่ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอีกอย่างหนึ่ง ต่ชักดาบออกจากฝักนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง ยกงูขึ้นจากข้อง เขากำหนดได้ว่า นี่งู นี่ข้อง งูเป็นอย่างหนึ่ง ข้องเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่งูยกมาจากข้องนั่นเอง, ฉันนั้นเหมือนกัน.
แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

-- อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๕๕๙ https://etipitaka.com/read/thaibt/3/1...
-- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๗๒-๗๓ ข้อที่ ๑๓๒ https://etipitaka.com/read/thai/9/72/
--------------------------

ปาฏิหาริย์ สาม
เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้. ๓ อย่างอะไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์

(๑)เกวัฏฏะ ! #อิทธิปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีประการต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินไปได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์, ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมากได้ด้วยฝ่ามือ และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.

เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชาชื่อคันธารี {๑} มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น.

เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?

“พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”.
เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.

(๒)เกวัฏฏะ ! #อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. ... ฯลฯ ... กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อ ผู้เลื่อมใส ว่า วิชาชื่อมณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),

เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?

“พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”.
เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ ดังนี้แลจึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.

(๓)เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ, จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์.
ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น–ท่ามกลาง–ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
...
-- พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๓ พุทธวจน ก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้าที่ ๙๑-๙๗ https://etipitaka.com/read/thaipb/3/91/
-- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๓๐๖-๓๐๗ ข้อที่ ๓๓๙
--------------------------

เสียงอ่านหนังสือ ตามรอยธรรม ฉบับที่ 1 ( 3 ชม.)    • เสียงอ่านหนังสือตามรอยธรรม หนังสือพุท...  
เสียงอ่านหนังสือ คู่มือโสดาบัน ฉบับที่ 2 ( 6 ชม.)    • เสียงอ่านหนังสือคู่มือโสดาบัน หนังสือ...  
เสียงอ่านหนังสือ ก้าวย่างอย่างพุทธะ ฉบับที่ 3 ( 5 ชม.)    • เสียงอ่านหนังสือก้าวย่างอย่างพุทธะ หน...  
เสียงอ่านหนังสือ มรรควิธีที่ง่าย ฉบับที่ 4 ( 3 ชม.)    • เสียงอ่านหนังสือมรรควิธีที่ง่าย ละนัน...  
เสียงอ่านหนังสือ แก้กรรม ฉบับที่ 5 (4.30 ชม.)    • เสียงอ่านหนังสือแก้กรรม หนังสือพุทธวจ...  
เสียงอ่านหนังสือ อานาปานสติ ฉบับที่ 6 (4.30 ชม.)    • เสียงอ่านหนังสืออานาปานสติ หนังสือพุท...  
เสียงอ่านหนังสือ ฆารวาสชั้นเลิศ ฉบับที่ 7 (3 ชม.)    • เสียงอ่านหนังสือฆราวาสชั้นเลิศ หนังสื...  
-------------------------

ขอฝากผู้ชมติดตาม ช่องสำรอง
ธัมมวินโย พุทธวจน
(ธรรมวินัย)
   / @dhammavinayo  

สุคตวินโย พุทธวจน
   / @sugatavinayo  
--------------------------

show more

Share/Embed