พบหมอธรรมศาสตร์ (วิทยุ) EP.3 I เรื่อง รู้ทันป้องกันเอดส์
MED TU CHANNEL MED TU CHANNEL
12.8K subscribers
5,648 views
78

 Published On Apr 18, 2022

📻 รายการนัดพบ “รู้ทัน ป้องกันเอดส์”
[สถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทลัยธรรมศาสตร์]
.
โดย รศ.นพ.ธนา ขอเจริญพร
อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
โรคเอดส์ไม่สามารถติดต่อได้จากการ สัมผัสทางผิวหนัง ผ่านลมหายใจ เหงื่อย หรือ
ผ่านอากาศเหมือนเชื้อไวรัสไข้หวัดทั่วไป จึงไม่ควรเลือกปฏิบัติกับผู้ป่วยด้วยความรังเกียจ
.
🚨 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
จากการรวบรวมข้อมูลในประเทศไทย ส่วนใหญ่การติดเชื้อ "HIV" เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมาคือช่องทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนเข็ม หรือใช้เข็มที่ไม่สะอาดร่วมกัน และสุดท้ายคือกลุ่มที่มีการติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อ HIV สู่ลูกผ่านการตั้งครรภ์ นอกเหนือจาก 3 ทางหลักๆแล้ว นอกจากนี้ยังมี
ช่องทางจากการติดเชื้อ ช่องทางอื่นๆที่มีรายงานบ้างประปราย เช่น การติดเชื้อผ่านกาารสัก หรือการเจาะผิวหนัง ด้วยเข็มที่อาจจะมีการปนเปื้อนหรือไม่สะอาด เป็นต้น
.
⚠️ กลุ่มเสี่ยงต่อการติด "HIV"
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ HIV เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป 3 กลุ่มได้แก่
1.กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
2.กลุ่มหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ
3.กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดฉีดเข้าเส้น
.
🗣️ อาการของโรค
โรคเอดส์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่ไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้กำจัดการติดเชื้อที่เข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้

สำหรับโรคติดเชื้อเอชไอวี
👉ในระยะเริ่มต้นหรือระยะติดเชื้อเฉียบพลัน เกิดขึ้นในเฉพาะผู้ติดเชื้อบางราย จะมีอาการไข้หวัด ปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บคอ ผื่นขึ้น และต่อมน้ำเหลืองโต
👉ระยะที่สอง เรียกว่าระยะแฝง หรือระยะไม่มีอาการ คือผู้ที่ได้รับเชื้อแล้ว แต่ไม่มีอาการ ดำเนินชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป ดูภายนอกจะดูไม่ออกว่าติดเชื้อ จนกว่าจะมีการเจาะเลือดตรวจ จึงจะทราบว่าติดเชื้อ
👉ระยะสุดท้ายหรือระยะเอดส์ คือระยะที่ภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อลดลงในระดับที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหรืออาการต่างๆ เช่น มีเชื้อรา มีฝ้าขาวในปาก ปอดอักเสบ มีตุ่มผื่นตามผิวหนัง ร่างกายจะซูบผอมลงอย่างชัดเจน อาการท้องเสียเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
.
🛡 ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อพบว่าติดเชื้อ "HIV"
ควรพบแพทย์และเข้าสู่การรักษาอย่างต่อเนื่อง
ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ปัจจุบันเรามียาต้านไวรัส รับประทานวันละ 1 เม็ด มีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน โดยผู้ที่ติดเชื้อจะต้องรับประทานยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมไวรัสให้อยู่นิ่งๆ ไม่ทำอันตรายต่อภูมิคุ้มกันของผู้ที่ติดเชื้อ และเร่งสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันขึ้นมาใหม่จนถึงระดับที่ปลอดภัยและ สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้
.
รายการนัดพบ ออกอากาศทางรายการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คลื่น AM 981 KHz. ทุกวันจันทร์ 19.00-19.30 น.
และทางออนไลน์ www.radio981.tu.ac.th
.
#พบหมอธรรมศาสตร์
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
#medtuchannel
#MedTU
#สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

show more

Share/Embed