วอนคนลาวเข้าใจให้ถูกต้องด้วยเรื่องเงินกีบลาวเฟ้อจะได้ไม่โทษเงินประเทศอื่นเขาเพราะว่ามีหลายปัจจัย
น้องฟ้า สาวลาวในต่างแดน น้องฟ้า สาวลาวในต่างแดน
67.5K subscribers
29,891 views
0

 Published On Jun 18, 2024

เงินเฟ้อคืออะไร มีผลกระทบด้านใดบ้าง พร้อมวิธีรับมือเงินเฟ้อแบบมืออาชีพ
เงินเฟ้อคือสิ่งที่นักลงทุนหลายคนติดตามความเคลื่อนไหว เพราะการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของภาวะนี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งคุณทราบหรือไม่ว่า การเกิดภาวะเงินเฟ้อ หากเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่ในทางกลับกันหากเกิดขึ้นสูงเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อสังคมและสภาพเศรษฐกิจ และสำหรับท่านใดที่ยังไม่เข้าใจว่า สภาวะนี้จะส่งผลกระทบในรูปแบบใดได้บ้าง เราลองมาเพิ่มความเข้าใจและวางแผนการรับมือไปพร้อมกันในบทความนี้
ทำความเข้าใจ เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร เพื่อเตรียมรับมืออย่างรู้ทัน

หากกล่าวแบบให้เห็นภาพง่าย ๆ เงินเฟ้อ (Inflation) จะหมายถึงภาวะที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น จนเรารู้สึกได้ว่าแพงไปจากเดิมมาก ยกตัวอย่างง่าย ๆ คุณรู้สึกใช่ไหมว่าเงิน 1,000 บาท ของคุณสามารถซื้อของได้น้อยลงทุกที ทำไมไข่ไก่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรตีนราคาถูกในปี 2530 ที่เราเคยซื้อกันอยู่ในราคาเฉลี่ย 3 ฟอง 5 บาท แต่ในปัจจุบันเราซื้อไข่ไก่เฉลี่ยฟองละ 3-5 บาท และในอนาคตเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า ราคาจะขึ้นไปอยู่ที่เท่าไหร่ เป็นต้น

โดยภาวะนี้มีทฤษฎีอธิบายความหมายตามหลักการว่า เป็นสภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันค่าเงินกลับมีแนวโน้มลดลง จึงเป็นเหตุให้การซื้อสินค้าหรือบริการจำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น แล้วอะไรล่ะที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นและลดลงของภาวะเงินเฟ้อ ไปทำความเข้าใจกันต่อได้เลย
 

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ ที่ทำให้คุณต้องจ่ายเงินเยอะขึ้น สำหรับสินค้าหรือบริการเดิม

กลไกและปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อมีการปรับตัว เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยสามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักลงทุนที่ต้องบริหารความเสี่ยง การติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะเงินเฟ้อ จะช่วยให้คุณสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการลงทุนได้แม่นยำมากขึ้น เราไปเริ่มกันที่ปัจจัยภายในกันก่อน

ปัจจัยภายใน ถือเป็นเรื่องปกติที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเกิดความต้องการซื้อมากขึ้น เช่น ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น, ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้าลดจำนวนลง, ปัญหาด้านค่าแรง และการเปลี่ยนแปลงของภาษี เป็นต้น หรือแม้แต่ปัจจัยด้านบวกในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังไปได้ดี เราก็พบว่าภาวะนี้ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เช่น เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ ทำให้คนจับจ่ายมากขึ้น, เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น กำลังการผลิตก็มากขึ้น, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีการอ่อนค่าลง, ต้นทุนการกู้ยืมมีอัตราดอกเบี้ยลดลง และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐบาล ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น เป็นต้น

ส่วนปัจจัยภายนอกในยุคปัจจุบัน ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อค่าเงินและความเชื่อมั่นของนักลงทุน จนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่
 

1. การขาดแคลนแรงงาน

ในทุก ๆ วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างภาวะสงคราม หรือการเกิดโรคระบาด ย่อมนำมาซึ่งการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตสินค้า เช่น การเกิดโรคระบาดจนทำให้ผู้ประกอบการต้องมีมาตรการในการหมุนเวียนแรงงานเข้าปฏิบัติงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ผลกระทบที่เกิดจึงส่งผลให้ภาคการผลิตมีกำลังลดลง นอกจากนี้ทั้งภาวะสงครามและโรคระบาด ล้วนทำให้ยอดการสั่งซื้อสินค้ามีจำนวนลดลงด้วยเช่นกัน
 

2. การอัดฉีดเงินของรัฐบาล

เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และเริ่มมีแนวโน้มว่าจะทำให้เศรษฐกิจเกิดความเสียหาย ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น รัฐบาลจะนำเงินเข้ามาอัดฉีดและกระตุ้นเศรษฐกิจทันที เพื่อเป็นการพยุงเศรษฐกิจในระหว่างที่รัฐบาลกำลังหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และด้วยเม็ดเงินมหาศาลที่ทุ่มลงไปในเศรษฐกิจ ในขณะที่ประชาชนยังไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปัญหาความล่าช้าจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้น
 

3. ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น

เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิต และการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก ทั้งราคาน้ำมันดิบ และราคาก๊าซธรรมชาติที่ต่างพากันขึ้นราคา อย่างในกรณีล่าสุด คือ เมื่อเกิดการคว่ำบาตรประเทศรัสเซีย เนื่องจากการทำสงครามกับประเทศยูเครน ประเทศจากรัสเซียจึงเลือกที่จะตอบโต้การคว่ำบาตรด้วยการเพิ่มราคาน้ำมันดิบ ซึ่งรัสเซียอยู่ในฐานะของผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก ราคาพลังงานทั่วโลกจึงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตมีราคาเพิ่มขึ้น และจากนั้นก็ตามมาด้วยภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก เป็นต้น

show more

Share/Embed