ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ IP & IT Mini-Bar ep.7 "กฎหมายอาญาน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้า"
COJ CHANNEL COJ CHANNEL
58.7K subscribers
1,773 views
85

 Published On Aug 25, 2022

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ IP & IT Mini-Bar ep.7 "กฎหมายอาญาน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้า"

โดย นางสาวสุจินต์ เจนพาณิชพงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
และนายทศพล พิทักษ์เนตินัย ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์

ในการซื้อขายสินค้าและการให้บริการนั้น เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ มีหน้าที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการ ทราบถึงแหล่งที่มาหรือแหล่งผลิตและความแตกต่างของสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายที่ต่างกัน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สามารถประกัน ถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ ซึ่งเรียกได้โดยรวมว่าเป็นสิ่งที่ใช้แยกแยะสินค้าหรือบริการของผู้ขายรายหนึ่งออกจากสินค้าหรือบริการของผู้ขายรายอื่นนั่นเองครับ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ที่ฉกฉวยเอาประโยชน์จากการนำเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของผู้อื่น มาใช้กับสินค้า หรือบริการของตน ทั้งที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ที่จะใช้ได้ ทำให้เจ้าของครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่แท้จริงได้รับความเสียหาย เพราะเมื่อที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ แล้วพาลเข้าใจผิด คิดไปว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าว เป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ที่แท้จริง ย่อมทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือสูญเสียประโยชน์อันควรได้จากการที่ผู้ที่ฉกฉวยนำเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการไปใช้กับสินค้ากับบริการของตน อีกทั้งยังเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคสินค้าหรือผู้รับบริการที่ต้องมีความเสี่ยงจากการได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพหรือมีคุณภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค หรือบริการทางการแพทย์ เช่น บริการเสริมความงาม ก็อาจมีผลกระทบต่อเนื้อตัวร่างกาย และสุขอนามัยของผู้ที่ใช้สินค้าหรือผู้รับบริการดังกล่าวครับ ในการนี้กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า จึงมีบทบัญญัติถึงความผิดทางอาญาของผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยบัญญัติเป็นความผิดไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา และต่อมาพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงได้บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดในเรื่องของเครื่องหมายการค้าเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม โดยได้ขยายขอบเขตความคุ้มครอง ออกไปยังเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมอีกด้วยครับ แต่ทั้งนี้ความผิดที่บัญญัติขึ้นตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าจะจำกัดความคุ้มครองเฉพาะเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม ที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้นครับ โดยจะกำหนดอัตราโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนไว้สูงกว่าความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นหากเจ้าของเครื่องหมายท่านใด มีความประสงค์ที่จะให้เครื่องหมายของตนได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ ก็สมควรที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายของตนเองไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนการกระทำที่กระทบต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้า ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดอาญาในเรื่องหลักๆ มีอะไรบ้างนั้น จะขอให้ท่านสุจินต์ ได้อธิบายให้ทุกท่านฟังต่อไปครับ เท่าที่มักพบเจอกันอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการซื้อขายหรือให้บริการตามปกติ หรือช่องทางการซื้อขายหรือให้บริการแบบออนไลน์ จะแบ่งออกเป็น 3 เรื่องใหญ่ ซึ่งก็คือ (1) การปลอมเครื่องหมาย (2) การเลียนเครื่องหมาย และ (3) การนำเข้า จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการที่ใช้เครื่องหมายปลอมหรือเลียนเครื่องหมายของผู้อื่น ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนว่า ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทั้ง 3 เรื่อง ดังกล่าว อาจเกิดจากการกระทำต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิในเครื่องหมายบริการ สิทธิในเครื่องหมายรับรอง หรือสิทธิในเครื่องหมายร่วมก็ได้ เมื่อมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องหลายคำเช่นนี้ เพื่อให้ง่ายในการนำเสนอ จะขอกล่าวเฉพาะเครื่องหมายการค้าเท่านั้นค่ะ
กรณีแรกคือความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้านั้น แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดคำนิยามหรือความหมายของคำว่าปลอมเอาไว้โดยเฉพาะเจาะจง แต่เป็นที่เข้าใจตามความหมายธรรมดา ของการปลอมว่าย่อมหมายถึงการทำขึ้นใหม่หรือนำไปใช้ให้เหมือนของจริงและตรงตามลักษณะเดิมให้มากที่สุด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ทำขึ้นใหม่หรือนำไปใช้จากเจ้าของเครื่องหมายนั้นนั่นเอง โดยผู้กระทำความผิดกรณีนี้คือผู้ที่ทำเครื่องหมายนั้นขึ้นใหม่ หรือผู้ที่นำเครื่องหมายนั้นไปใช้ให้เหมือนกับเครื่องหมายของผู้อื่น เช่นนี้ หากผู้กระทำมีแต่เพียงแม่พิมพ์หรือบล็อกไว้ใครอบครอง ถือเป็นเพียงขั้นตอนของการเตรียมการ ยังไม่มีการลงมือทำเครื่องหมายการค้าขึ้นใหม่หรือยังไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้า ยังไม่อาจถือว่าเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าได้คะ (ฎ 750/2508) ซึ่งบทบัญญัติที่กำหนดความผิดในเรื่องดังกล่าวนี้ จะเป็นไปตามมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 ใช้กันอย่างไรคะ ดูง่าย ๆ แบบนี้คะ ..... (ติดตามฟังต่อได้ที่ COJ channel )

show more

Share/Embed