EP.4 ไขปริศนาปราสาทภูเพ็ก เจ็ดเนินดินปริศนา
ลุยผ่านเลนส์ ลุยผ่านเลนส์
45.9K subscribers
170,674 views
0

 Published On Jun 15, 2023

เมื่ออิทธิพลของอาณาจักรขอม ได้แผ่เข้ามายังดินแดนหนองหารหลวง หรือจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เข้ามาแทนที่อาณาจักรทวาราวดี ซึ่งมีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 อิทธิพลของอาณาจักรขอม มีหลักฐานทางกายภาพ ได้แก่ตัวเมืองหนองหารหลวง ที่ออกแบบเป็นรูปผังเมืองในแบบขอม ลักษณะเป็นเมืองสี่เหลี่ยม มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ กลางเมืองมีปราสาทประธาน ซึ่งปัจจุบันคือพระธาตุเชิงชุม พร้อมด้วย "บาราย" ชื่อปัจจุบันคือ สระพังทอง ซึ่งเปรียบเสมือนทะเลศักดิ์สิทธิ์แห่งเขาพระสุเมร ในความเชื่อของศาสนาฮินดูและพุทธมหายาน ผู้ปกครองชาวขอมแต่ละยุค ได้ก่อสร้างปราสาทไว้หลายแห่งนอกเหนือจากปราสาทประธานที่อยู่กลางเมือง ได้แก่ ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทดุม และปราสาทภูเพ็ก
ปราสาทภูเพ็ก เป็นปราสาทที่สูงที่สุดในประเทศไทย องค์ปราสาทสร้างอยู่บนเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 520 เมตร เป็นสิ่งก่อสร้างยุคขอมเรืองอำนาจ ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้มิติ ของวิทยาศาสตร์ ผสมผสานเข้ากับศาสตร์แห่งความเชื่อ ได้อย่างลงตัว ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุโบราณ กระจายอยู่โดยรอบองค์ปราสาทจำนวนมาก 1 ในจำนวนสิ่งโบราณที่ถูกค้นพบ ที่ยังคงเป็นปริศนาถึงเหตุผลการก่อสร้าง นั้นคือเนินดิน หรือโพนดิน 7 ลูก ซึ่งโพนดินแต่ละลูกมีขนาดใหญ่ ไปหาเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางมีตั้งแต่ 20 จนถึง10 เมตร เรียงเป็นเส้นขนานเดียวกัน

show more

Share/Embed