ระบำลพบุรี
Refuse kamikaze Refuse kamikaze
7.53K subscribers
53,907 views
387

 Published On Dec 29, 2018

การแสดงระบำโบราณคดี ชุดระบำลพบุรี
การแสดงนาฏศิลป์ไทยและบรรเลงเพลงภายใต้โครงการ รำลึกนาฏศิลป์ดนตรี ๑๑๑ ปี ธนิต อยู่โพธิ์ วัน พุธ ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2561 ณ โรงละครแห่งชาติ Cr. เพจ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ 3 ในระบำโบราณคดี 5 ชุด อ.มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง อ.ลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย และอ.เฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยเลียนแบบลีลาท่าทางมาจากประติมากรรมและภาพสลักที่ปรากฏบนทับหลังและหน้าบันของปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศิลปะแบบขอม อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ดังนั้น ท่ารำ สำเนียงดนตรี และเครื่องแต่งกายของระบำชุดนี้ จึงมีลักษณะแบบขอม เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงระบำลพบุรี ประกอบด้วย เครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ ซอสามสาย พิณน้ำเต้า ปี่ใน กระจับปี่ เครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ โทน 2 ลูก ฉิ่ง ฉาบ
นำแสดงโดย
(นักแสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป)
กชกร ศิริพันธ์
สุทธิดา เฮงทรัพย์
มนัสนันท์ ธนผ่องบุตรศรี
จอมคุณสุภัค จุลศิลป์
จีรวรรณ อมรไชย
กาญจนา แก้วมณี
วริศรา มาลา
บรรเลงโดย
หัวหน้าวง - สุรศักดิ์ กิ่งไทร
ซอสามสาย - มารุต มากเจริญ
พิณน้ำเต้า - เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี
ปี่ใน - สุรศักดิ์ กิ่งไทร
กระจับปี่ - พชร กรอบเพ็ชร์ ภูกำเนิด, สหภาพ ชวนจิตร
โทน 2 ลูก - ปิยะ แสวงทรัพย์
ฉิ่ง - รณภัทร นามดี
ฉาบ - อารมณ์ พลอยหิรัญ
กรับคู่ - พิเชญ โยธี
Rabam Lopburi
Rabam Lopburi is the third in the set. The choreography was by Mrs.Lamoon Yamakup and Mrs.Chaleuy Sukavanich and composed the music was by Mr.Montri Tramod. The term Lopburi in this dance signifies the era called Lopburi art from the 11th to 14th centuries which is the inspiration for the creation of this dance. The choreographed this dance base on the artistic tradition that can be seen in the historical remains in the museum and ancient monuments in Thailand.

show more

Share/Embed