รู้งี้ทำตั้งนานแล้ว..!! ต่อขนาน คาปาซิเตอร์ Vs ต่ออนุกรม คาปาซิเตอร์ มันต่างกันอย่างไร..??
Zim Zim DIY Zim Zim DIY
291K subscribers
169,946 views
3.6K

 Published On Jun 6, 2022

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY

สำหรับวันนี้ ผมจะพามาดูว่า หากเรานำ คาปาซิเตอร์ มาต่อแบบ ขนาน และ ต่อแบบ อนุกรม ค่าผลลัพท์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ?

เรามา เริ่มต้นการต่อแบบ ขนานกันก่อนเลยครับ การต่อแบบขนาด ผมจะยกตัวอย่างมา 3 แบบ

แบบที่ 1 ก็คือ การต่อขนาน ที่ค่าความจุ และ ค่าแรงดัน เท่ากัน

สมมุติว่า เพื่อนๆ มี คาปาซิเตอร์ 5 ตัว มีค่าเดียวกันทั้งหมดนั้นก็คือ 1,000 uF 25V 5 ตัว ต่อในลักษณะขนานกัน
ถ้าต่อแบบนี้ ค่าความจุที่ได้ ก็จะ = การนำค่าตัวเก็บประจุมารวมกัน
เพราะฉะนั้น คำตอบก็จะเท่ากับ 5,000 uF และการทนแรงดันก็จะเท่ากับ 25V วิธีนี้จะเห็นเค้านิยมต่อใช้กันบ่อยๆ เช่น โมใส่แหล่งจ่ายแอมป์จิ๋ว

แบบที่ 2 ใช้ C ต่อขนานกัน ที่ค่าควาจุไม่เท่ากัน
ถ้าหาก เพื่อนๆมี คาปาซิเตอร์ ที่มีค่าต่างกัน อย่างเช่น ตัวที่ 1 , ตัวที่2, ตัวที่ 3 มีค่าการเก็บประจุ 1,000 uF 25V
และตัวที่ 4 ตัวที่ 5 มีค่าความจุ 2,000 uF 25V มันก็ยังจะใช้วิธีการคำนวณเหมือนเดิม นั้นก็คือ นำค่า การเก็บประจุมาบวกกัน
เพราะฉะนั้น คำตอบที่ได้ก็จะเท่ากับ 7,000 uF และการทนแรงดันก็จะเท่ากับ 25V

แต่จะมีในอีกในกรณีหนึ่ง แบบที่ 3 นั้นก็คือ ตัวเก็บประจุมีค่าการเก็บประจุเท่ากัน แต่ ค่าทนแรงดันไม่เท่ากัน
ก็คือ ถ้าหากผมใช้ C ค่าเดิม และ C ทุกตัวทนแรงดันได้ 25V แต่ดัน มี C อยู่ตัวหนึ่งทนแรงดันได้ 16V
เพราะฉะนั้นค่า แรงดันที่มันทนได้ ตามตัวที่มันทีค่าแรงดันน้อยที่ สุด
คำตอบที่ได้ก็จะเท่ากับ 7,000 uF ทนแรงดันที่ 16V

สรุปง่ายๆก็คือ การต่อขนานของ C ก็คือเราจะต่อ + ชน + - ชน - ขนานกันไปเรื่อยๆจะกี่ตัวก็ว่ากันไป
ค่าความจุที่ได้ก็มาจากการบวก + ค่าของ C ทั้งหมด เข้าด้วยกัน มันจะเหมือนเราได้ C ตัวใหม่ตัวหนึ่ง เป็นตัว C ที่ใหญ่ขึ่้น แต่การทนแรงดันรวมของมัน จะคิดจาก C ตัวที่ทีค่าแรงดันน้อยที่สุด
ไม่ได้คิดจากการเฉลี่ย ของ ซีทุกค่า นะครับ

สำหรับการต่อ C แบบอนุกรม
ก็คือการต่อ บวก ตัวหนึ่ง ชน ลบ อีกตัวหนึ่ง ชนกันไปเรื่อยๆ
หาก เพื่อนๆ มี คาปาซิเตอร์ ที่มีค่าเดียวกัน อย่างเช่นมีค่า C 1,000 uF 25V 5 ตัว มาต่ออนุกรมกัน
ค่าความจุที่ได้จะเท่ากับ ค่าความจุของC นำมาหารกับจำนวนของ C
เพราะฉะนั้น 1000uf หาร 5 ก็จะเท่ากับ 200uF
สังเกตุว่า การเก็บประจุจะน้อยลง
แต่ค่าแรงดันที่ C ตัวนั้นทนได้ จะตรงกันข้ามเลยครับ มัน จะเท่ากับ แรงดันทั้งหมดมารวมกัน
ก็จะได้เท่ากับ C ตัวละ 25V x กัน 5 ตัว = 125V
ก็จะเหมือนกับว่าเรามี คาปาซิเตอร์ ตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ที่ทนแรงดันได้สูงขึ้น แค่ค่าการเก็บประจุ อย่างที่บอก มันก็จะน้อยลงไป

และสำหรับการ ต่ออนุกรม C ที่ค่าความจุของ C ไม่เท่ากัน
เขามักที่จะไม่นิยมทำกัน เพราะจะมี C ตัวใดตัวหนึ่ง ทีทำงานหนักว่าเพื่อน เพราะ ฉะนั้น ในคลิปนี้ผมจึงไม่ขอเอ่ยถึง ละกันนะครับ

สรุปว่าการต่อ C ทั้ง 2 แบบ มันให้ค่าผลลัพท์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ยังไงๆ เพื่อนๆ ก็ลอง เลือกนำไปประยุกต์ ให้มันเหมาะสมกับงานของเพื่อนๆดูละกันนะ ครับ

ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

show more

Share/Embed