มุสลิมเมืองสงขลา อัตลักษณ์และชาติพันธุ์สัมพันธ์ | จากรากสู่เรา
Thai PBS Thai PBS
8.97M subscribers
15,809 views
267

 Published On Premiered Apr 16, 2024

เมืองสงขลามีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ผู้คน ศาสนา และวัฒนธรรม รวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วันนี้เรามาเรียนรู้ รู้จักคนกลุ่มหนึ่ง “มุสลิมเมืองสงขลา” ซึ่งเคยที่มีบทบาทมาตั้งแต่สงขลาในยุคแรกเริ่ม ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ที่เรียกว่า “ซิงกอรา” ซึ่งมีสุลต่านมุสลิม ปกครองเป็นเจ้าเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง หลังซิงกอราแตก ผู้คนที่เป็นมุสลิมบางส่วนก็ได้โยกย้ายไปทางทิศตะวันตกของหัวเขาแดง ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมอยู่มาก่อนแล้วที่เรียกว่า “บ้านหัวเขา”

จากการบันทึกของ เมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส ปี พ.ศ.2230 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ได้มาสำรวจเขียนแผนที่ในเมืองซิงกอรา ได้วาดชุมชน หมู่บ้าน ปรากฏสองพื้นที่ในแผนที่คือ “บ้านหัวเขา” และ “ชุมชนบ้านบน” ซึ่งอยู่ฝั่งตำบลบ่อยางในปัจจุบัน สองพื้นที่นี้เชื่อว่าเป็นชุมชนกลุ่มมุสลิมดั่งเดิมของเมืองสงขลา ไปเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์สังคม อัตลักษณ์ และชาติพันธุ์สัมพันธ์ ของมุสลิมเมืองสงขลา

ติดตามได้ ในรายการติดตามในรายการจากรากสู่เรา ตอนมุสลิมเมืองสงขลา อัตลักษณ์และชาติพันธุ์สัมพันธ์ วันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส
----------------------------------
👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ :    / thaipbs  

show more

Share/Embed