“อาวุธสงคราม” ฝีมือคนไทย ทรงพลังแค่ไหน ? l ข่าวไวกับโมไนย เย็นบุตร
TNN Originals TNN Originals
33K subscribers
52,454 views
0

 Published On Jun 7, 2024

โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้น แบบ DTI-1G เป็น ความร่วมมือ ระหว่าง กองทัพบก (ทบ.) และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) มาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน มีเป้าหมาย คือ การพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบ DTI-1G ให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อนำเข้ารับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ และนำเข้าประจำการในกองทัพบก ต่อไป เพื่อเป็นศักย์สงครามที่สำคัญ ในด้าน Fire Power ของกองทัพไทย โดยเน้นการพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด และ พึ่งพาต่างประเทศเท่าที่จำเป็น

โครงการฯ DTI-1G แบ่งเป็น 2 เฟส โดยใน เฟส 1 เป็นการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี จาก สปจ. และ เฟส 2 เป็นการนำความรู้ในเฟส 1 มาเป็นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ให้สามารถ ออกแบบและพัฒนา รถฐานยิงจรวด รถบรรทุกลูกจรวด รถควบคุมบังคับบัญชา และ ระบบส่งกำลังและซ่อมบำรุง โดย สทป. ร่วมกับเอกชนภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเน้นการพึ่งพาพันธมิตรหน่วยเจ้าของเทคโนโลยีต่างประเทศเท่าที่จำเป็น

หลังจากที่ ทีมวิศวกรจาก 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สทป. และเอกชนไทย 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด และ บริษัท แอโรฟลูอิด จำกัด ได้ร่วมกันพัฒนารถฐานยิงจรวดในประเทศไทย จนสำเร็จ และส่งไปติดตั้งระบบควบคุมการยิง (Fire Control System: FCS) ที่โรงงานของพันธมิตรหน่วยเจ้าของเทคโนโลยีต่างประเทศ ณ เมืองเฉิงตู สปจ. แล้ว ก็มาถึง ขั้นการทดสอบที่สำคัญ คือ การทดสอบในขั้นการรับรองคุณภาพของผู้ผลิต (Qualification Test) เพื่อพิสูจน์ยืนยันระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ก่อนทำการยิงทดสอบขั้นการตรวจรับ (Acceptance Test) ร่วมกับหน่วยผู้ใช้ ทบ. โดยในแผนการยิงทดสอบขั้นการตรวจรับในครั้งนี้ ได้นำรถฐานยิงจรวด ของโครงการเฟส 1 ไปร่วมการทดสอบด้วย ณ สนามทดสอบอาวุธ สปจ. ที่ระยะยิง 150 กิโลเมตร ในระหว่าง วันที่ 23-27 เม.ย. 67

ผลการยิงทดสอบ ระบบจรวด DTI-1G สามารถทำการยิงลูกจรวดนำวิถีเข้าสู่เป้าหมาย ทุกนัด โดย กระทบเป้าหมายที่ระยะ 150 กิโลเมตร ได้อย่างแม่นยำ

ความก้าวหน้าของโครงการ ระบบจรวด DTI-1G ที่ผ่านการยิงทดสอบ (Flight Test) ในขั้นตอนสำคัญนี้ คือ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการร่วมกันของ สทป. และ ทบ. ในหลายมิติ ดังนี้

(1) ช่วยพิสูจน์ยืนยันประสิทธิภาพ ในการใช้งานระบบจรวด DTI-1G ที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
(2) ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ขีดความสามารถ ของทีมวิศวกรไทย โรงงานอุตสาหกรรม และซัพพลายเชน (Supply Chain) ที่เกี่ยวเนื่อง ในประเทศไทย ว่ามีระดับความพร้อมในการออกแบบ พัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้น ร่วมกับพันธมิตรต่างประเทศ
(3) ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ขีดความสามารถ ของทีมวิศวกรไทย ในการส่งกำลังและซ่อมบำรุง ระบบจรวด DTI-1G ทั้งรถฐานยิงจรวด และ ลูกจรวดนำวิถี ให้พร้อมใช้งานได้โดยต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี
(4) ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ประสิทธิภาพ ระบบการฝึกศึกษา ในหลักสูตรการใช้งานและหลักสูตรการปรนนิบัติบำรุงระบบจรวด DTI-1G ที่ได้ส่งมอบให้แก่ กองทัพบก ทั้งการอบรมในห้องเรียน การฝึกภาคสนาม การศึกษาโดยใช้ระบบ Computer based Training และการยิงทดสอบด้วยลูกจรวดจริง
(5) ช่วยพิสูจน์ยืนยัน คุณภาพ และ ระดับความน่าเชื่อถือ และ ความไว้วางใจได้ ในตัวระบบจรวด DTI-1G ที่มีอายุการเก็บรักษามาเป็นเวลา 10 ปี แต่ยังคงมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานยุทโธปกรณ์
(6) ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ขีดความสามารถ ของกำลังพล กองทัพบก ว่ามีความรู้ ความชำนาญ ในการใช้งานระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบ DTI-1G ผ่านการฝึกทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการยิงจรวดจริง จึงมีระดับความพร้อมเมื่อต้องปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศ ในอนาคต

การขับเคลื่อนโครงการในขั้นตอนต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ถึงแม้ ระบบจรวด DTI-1G จะผ่านการยิงทดสอบ ในขั้นตอนสำคัญมาแล้ว ยังคงมีงานสำคัญที่รออยู่ข้างหน้าอีกมาก ระหว่างคณะทำงานร่วม ทบ.-สทป. เพื่อให้สามารถนำผลผลิตโครงการ ส่งมอบให้แก่ กองทัพบก นำเข้าใช้งานในภารกิจป้องกันประเทศได้โดยสมบูรณ์ต่อไป โดยมี สทป. และ ภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย เป็นกองหนุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่ กองทัพไทย

—--
#TNNOriginals #ข่าวไวกับโมไนย #อาวุธสงคราม
—--  
ติดตามข่าวสารทันโลก ทันเหตุการณ์
  / tnnthailand  
   / @tnnoriginals  
  / tnnonline  
  / tnn_online  

show more

Share/Embed