ที่มาของ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
บดินทร์ สังขศิลา บดินทร์ สังขศิลา
192 subscribers
107 views
1

 Published On Sep 26, 2024

#ตำนานเมืองเกษตรวิสัย
โดย คำบอกเล่าของลูกหลาน”พระศรีเกษตราธิไชย” สืบต่อกันมา
เมืองเกษตรวิสัย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร พื้นที่โดยทั่วไปเป็นทีลุ่ม เหมาะแก่การเพราะปลูกพืชพันธ์ธัญญาหารและเลี้ยงสัตว์ จึงได้ชื่อว่า “เกษตรวิสัย” มีชื่อว่า “เมืองเกษ” โดยมีพระศรีเกษตราธิไชย(เหง้า) ซึ่งมีตำแหน่งในครั้งกระนั้นเรียกว่า “อุปฮาด” เข้าใจว่าน่าจะเป็น “อุปราช” เป็นผู้ขอตั้งเมืองนี้ขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ปรดเกล้าฯให้จัดตั้งเมืองขึ้นที่ “บ้านดอนเสาโฮง” (บ้านดอนเสาโฮงในปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอพนมไพร)

แต่พระศรีเกษตราธิไชย(เหง้า) ผู้รับพระราชโองการมิได้ตั้งเมืองที่บ้านดอนเสาโฮง โดยให้เหตุผลว่าบ้านดอนเสาโฮงอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม เพราะสภาพท้องที่เป็นป่าดงและไม่อุดมสมบูรณ์ จึงได้ขอพระราชานุญาตเปลี่ยนที่ตั้งเมืองใหม่ โดยขอเปลี่ยนจากบ้านดอนเสาโฮง มาจัดตั้งที่ “บ้านกู่กระโดน” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2416 เพราะได้พิจารณาเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมมากกว่า และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขนานนามเมืองใหม่ว่า “เมืองเกษตรวิสัย” (บ้านกู่กระโดนในสมัยนั้นอยู่ในเขตการปกครองของเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองที่จัดตั้งขึ้นก่อน “พระศรีเกษตราธิไชย (เหง้า)” จึงดำรงตำแหน่งเป็น “เจ้าเมือง” คนแรกของเมืองเกษตรวิสัย ใน ปีพ.ศ. 2416 ถึงปี พ.ศ. 2417

ครั้นเมื่อ พระศรีเกษตราธิไชย(เหง้า) ถึงแก่อนิจกรรม ได้มีเจ้าเมืองคนต่อมารับพระราชทานนามว่า พระศรีเกษตราธิไชย(สังข์) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองในระหว่างปี พ.ศ. 2417 ถึง พ.ศ. 2425 นับเป็นเจ้าเมืองคนที่ 2 และเจ้าเมืองคนที่ 3 ต่อมารับพระราชทานนามว่า “พระศรีเกษตราธิไชย(ศิลา)” ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองในระหว่าง ปี พ.ศ. 2425 ถึง ปี พ.ศ. 2456

หลังจากหมดยุคลสมัยของพระศรีเกษตราธิไชย(ศิลา) แล้วเมืองเกษตริสัยได้รับการยกย่องฐานะขึ้นเป็นอำเภอในสมัยรัชการที่6โดยมีชื่อในครั้งแรกที่ตั้งขึ้นว่า “อำเภอหนองแวง” ทั้งนี้เพื่อให้พ้องกับชื่อของตำบลหนองแวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอโดยมี “ขุนเกษตรวิสัยรัฐ”(นายเทียน สุทธพินธุ) ดำรงตำแหน่งเป็น นายอำเภอคนแรก โดยขุนเกษตรวิสัยรัฐ ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอระหว่างปี พ.ศ. 2456 ถึง ปี พ.ศ. 2462 ต่อจากนั้นก็ได้มีนายอำเภออื่นๆ ย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปตามนโยบายของทางราชการ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2482 จึงได้มีการเปลี่ยนนามอำเภอหนองแวงมาเป็น “อำเภอเกษตรวิสัย” ตราบเท่าทุกวันนี้

“พระศรีเกษตราธิไชย(สังข์) กับ พระศรีเกษตราธิไชย(ศิลา)” จึงเป็นต้นตระกูล “สังขศิลา” ซึ่งสืบเชื้อสายต่อมาหลายชั่วคนจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ต้นตระกูล “สังขศิลา”

พระศรีเกษตราธิไชย(เหง้า) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2416 ถึงปี พ.ศ. 2417 เพียงปีเดียวก็ถึงแก่อนิจกรรม ต่อมา นายสังข์ รับตำแหน่งแทนเป็นเจ้าเมืองคนที่ 2 มีพระนามทางราชการว่า พระศรีเกษตราธิไชย(สังข์) รับราชการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 ถึงปี พ.ศ. 2425 รวม 8 ปี และคนต่อมา คือนายศิลา เข้ารับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองคนที่ 3 เรียกชื่อว่า พระศรีเกษตราธิไชย(ศิลา) รับตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2425 ถึงปี พ.ศ. 2456

ผู้เล่าได้บอกว่า นายเหง้า นายสังข์ และนายศิลา เป็นพี่น้องกัน แต่ที่แน่ๆ จะต้องเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในเมืองเกษที่สืบเชื้อสายต่อๆ กันมา เพราะสมัยก่อนนั้นตำแหน่งหัวเมืองชั้นนอกผู้ครองเมืองระดับเมืองเกษนี้มีผู้ปกครองคือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร การแบ่งการปกครองหัวเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2438 ซึ่งตรงกับสมัยของพระศรีเกษตราธิไชย(ศิลา) นั้นยังแบ่งเป็นมณฑล เมืองแขวง และหมู่บ้านอยู่ พึ่งจะมาเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน สมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2456 จนถึงทุกวันนี้

เจ้าเมืองคนที่ 3 ของเมืองเกษ คือ พระศรีเกษตราธิไชย (ศิลา) ปกครองเมืองเกษตั้งแต่ปีพ.ศ. 2425 ถึงปี พ.ศ. 2456 รวมระยะเวลา 31 ปี นับว่ายาวนานพอสมควร ท่านเจ้าเมืองมีลูกหลาน เหลน ติดต่อกันมาหลายชั่วคน

ตำแหน่งเจ้าเมืองสมัยนั้นย่อมมีอำนาจ เพราะอยู่ในสมัยการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช เจ้าเมืองย่อม ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้ นอกจากจะมีอำนาจมากแล้วยังมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่เหนือประชาชนคนทั่วไป มีข้าทาสบริวารล้อมหน้าล้อมหลัง ฉนั้นการที่เจ้าเมืองจะมีภรรยาหลายคนจึงเป็นเรื่องธรรมดา พระศรีเกษตริไชย(ศิลา) ก็เช่นเดียวกัน ท่านมีภรรยา 3 คน ดังนี้

ภรรยาคนที่ 1 คือ หม่อมโซ่นทองแดง มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือท้าวบุญ ต่อมาไม่ปรากฎว่ามีบทบาทคุณพระฯ ผู้เป็นบิดาแต่อย่างใด
ภรรยาคนที่ 2 คือ ญาแม่สมบูรณ์ มีบุตรและธิดา ดังนี้
1.ท่านปลัดทองคำ สังขศิลา (สายอำเภอสุวรรณภูมิ) แต่งงานกับนางคำออน
สาวเมืองพนมไพร มีบุตร ดังนี้ คือ นายทองใบ สังขศิลา นายทองปลิว สังขศิลา นายทองม้วน สังขศิลา นายจำนงค์ สังศิลา และ พันเอกเอนก สังขศิลา
2.ญาแม่ทรัพย์ แต่งงานกับ นายบุญตา สังขศิลา (ขุนอนุศาสตร
สิทธิกิจ) มีบุตร ธิดา จำนวน 7 คน
3. ญาแม่สมโภชน์ (ไม่ทราบชื่อสามี) มีบุตรี 1 คน คือ นางสาวหนูเดือน ต่อมาได้แต่งงานกับ นายบุญตา สังขศิลา(ขุนอนุศาสตรสิทธิกิจ) มีบุตร 3 คน
ภรรยาคนที่ 3 คือ ญาแม่ตู้ มีบุตร ธิดา ดังนี้
1.กำนันแก้ว สังขศิลา (อดีตกำนันตำบลเมืองบัว)
2. ท้าวสอน
3. แม่นางอุ่น

จะกล่าวถึงทายาทของพระศรีเกษตราธิไชย(สังข์) ที่มีความสัมพันธ์กับทายาทของพระศรีเกษตราธิไชย (ศิลา) เพราะจะได้ทราบว่าที่ไปที่มาของนามสกุล “สังขศิลา” ว่ามาอย่างไร

นางทุ้ม ซึ่งเป็นน้องสาวของพระศรีเกษตราธิไชย(ศิลา) ไปเป็นภรรยาของเจ้าราชวงศ์ ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งราชวงศ์ผู้เป็นทายาทของพระศรีเกษตราธิไชย(สังข์) ต่อมามีบุตรชาย 1 คน คือ นายบุญตา สังข-ศิลา(ขุนอนุศาสตรสิทธิกิจ)

show more

Share/Embed