ค่าธรรมเนียมศาล คือ อะไร ไม่มีเงินจ่ายทำไงได้บ้าง อย่าเพิ่งจ้างทนายถ้ายังไม่ได้ดูคลิปนี้ EP. 5
Modern Law Modern Law
59.2K subscribers
8,369 views
186

 Published On May 3, 2022

ถ้าเราอยากจ้างทนายสักคนเราจะต้องทำยังไง มาต่อกันด้วย EP.5 ซึ่งคลิปนี้ทนายดาวจะมาไขข้อข้องใจให้กับเพื่อนๆที่กำลังลังเลใจที่จะจ้างทนายให้กระจ่างนะคะ #ปรึกษาทนายความ #จ้างทนาย #ทนายความอุบล

ค่าธรรมเนียมศาล คือ อะไร ต้องจ่ายใคร จ่ายที่ศาลหรือว่าจ่ายให้ทนายความ
ค่าธรรมเนียม คือ เงินที่ต้องชำระให้แก่ทางราชการเมื่อได้รับบริการจากรัฐที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนการทางศาล เช่น ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
ดังนั้น ค่าธรรมเนียมศาล ก็คือ เงินที่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีจะต้องเสียให้แก่ศาลหรือเจ้าพนักงานศาล เช่น ค่าขึ้นศาล เป็นต้น
แล้วคำว่า ค่าธรรมเนียมศาล กับคำว่า ค่าฤชาธรรมเนียม เหมือนกันหรือว่าต่างกันยังไง มันใช่คำๆเดียวกันมั้ย คำว่า“ค่าฤชาธรรมเนียม” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา มาตรา 149 บัญญัติว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้าพนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตลอดจนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ

ขออธิบายแบบนี้นะคะ
1. ค่าขึ้นศาล
กรณีถ้าเป็นคดีแพ่ง แบ่งออกเป็น
1.1 คดีมีทุนทรัพย์
คือได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์ คือคดีที่มีผลเป็นการเรียกทรัพย์มาเป็นของตน เช่น ฟ้องเรียกเงินกู้ยืม ค่าเช่า ซื้อขาย
ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์
สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1
สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง
ส่วนคดีทุนทรัพย์ ไม่เกิน 300,000 บาท จะเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมโนสาเร่คดีละไม่เกิน 1,000 บาท
1.2 คดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์ ได้แก่
คดีไม่มีข้อพิพาท เช่น คำร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. ม.1382
คดีที่ฟ้องขอบังคับหรือให้รับรองเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลตามกฎหมายครอบครัวเช่น คดีฟ้องหย่า
คดีที่ไม่ทำให้โจทก์ได้ทรัพย์สินสิ่งใดเพิ่มจากผลของคำพิพากษาเมื่อตนชนะคดี เช่น
ยกตัวอย่างฎีกา
-การฟ้องขอแบ่งที่ดินที่ได้แยกการครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว(ฎ.4550/2540)
-การฟ้องเรียกให้ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญา หากโจทก์ชนะคดีโจทก์ก็ได้สิทธิครอบครองทรัพย์สินที่เช่า ตามสัญญาเช่าเท่านั้น ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า (ฎ.7410/2540)
**จะคิดอัตราเดียวทุกชั้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์หรือผู้ร้องต้องเสียเรื่องละ 200 บาท**
ส่วนการฟ้องคดีอาญานั้น ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลนอกจาก จะมีคำขอให้จำเลยชำระเงินทางแพ่ง เรียกว่าคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญา จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์

2. ค่าส่งคำคู่ความ
โดยเฉลี่ย 200 – 400 บาท ตามพื้นที่ ในพื้นที่ห่างไกล มากกว่า 1,000 บาท

3.ค่าป่วยการพยาน
วันละ 400 - 1,000 บาท ขึ้นกับรายได้ และการเดินทาง

4.ค่าทนายความ
กำหนดเป็นอัตราขั้นสูง ศาลชั้นต้น ร้อยละ 5 / 30,000 บาท ศาลอุทธรณ์/ฎีกา ร้อยละ 3 / 20,000 บาท
ค่าทนายความที่ศาลกำหนด ควรประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1.ค่าตอบแทนการว่าความ
2.ความซับซ้อนของคดี เช่น การมาศาลหลายครั้ง การสืบพยานหลายปาก การนำสืบคดีละเมิดที่ ต้องพิสูจน์หลักฐานและความเสียหายที่มีความซับซ้อน เป็นต้น
3.คุณค่าวิชาชีพ

5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
กฎหมายกำหนดอัตราขั้นสูง ร้อยละ 1 / 5,000 บาท

6. ค่าคัดสำเนาเอกสาร
ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึก ค่าไฟฟ้า เป็นต้น

7. ค่ารับรองเอกสาร
ฉบับละ 50 บาท

8.การยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
1) ผู้ฟ้องไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ พิจารณาจากรายได้ ทรัพย์สินที่มีภาระ เช่น หนี้สิน ครอบครัว คนในอุปการะ
2) มีความจำเป็นในการฟ้องคดี กล่าวคือ คดีมีมูล และไม่เรียกร้องเกินจริง
สรุปตอนท้าย
ดังนั้น ค่าธรรมเนียมศาล ถือเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง คือเป็นค่าธรรมเนียมที่เราจะต้องชําระให้แก่ศาลในการดําเนินคดี ก็คือ จ่ายให้ศาล เพราะเรามีคดีความที่อยากจะให้ศาลช่วยเหลือเรา

ส่วน ค่าทนายความ คือ ค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายให้แก่ ”ทนาย” เพราะว่าเราอยากจะให้ทนายความช่วยทำคดีให้เรา ให้ทนายไปศาลเพื่อแก้ปัญหาให้เรา ส่วนจะคิดยังไงนั้นก็ว่าตามความยากง่ายและซับซ้อนของคดีนั้นๆค่ะ

---------------------------------------------------------------------------------------
*หากคลิปนี้ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

Page Facebook : ModernLaw
หรือคลิกที่ลิงค์ :   / modernlawth  

show more

Share/Embed