สภาวะหลังStroke ภาค ( ต่อ ) : เรียนรู้ที่จะอยู่กับ Stroke ในฐานะญาติ
หมอเฉพาะทางบาทเดียว หมอเฉพาะทางบาทเดียว
282K subscribers
67,642 views
3.1K

 Published On May 28, 2022

เมื่อญาติหมอเป็นStroke ภาค2
สภาวะหลัง Stroke
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ตั้งแต่มีปัญหาการพูดอย่างพูดไม่ชัด พูดไม่ได้ การชา มีปัญหาการกลืน ด้วยปัญหาเหล่านี้ นอกจากการรักษาจากอายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท หรือประสาทศัลยแพทย์แล้ว อีกหนึ่งความหวังสำคัญที่ทำให้คนไข้กลับมาช่วยเหลือตัวเองได้อีกครั้ง คือ “เวชศาสตร์การฟื้นฟูและกายภาพบำบัด”

เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด...ออกแบบการฟื้นฟู โปรแกรมที่คนไข้เชื่อมั่น
การฟื้นฟูร่างกายคนไข้อัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยการทำกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เป็นสิ่งที่คนไข้และญาติคาดหวังและต่างเชื่อมั่น ซึ่งรพ.พญาไท3 มีความพร้อมทั้งนักกายภาพบำบัดผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ในการฟื้นฟูคนไข้โรคสมอง รวมถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ช่วยในการทำกายภาพบำบัดซึ่งทันสมัยเป็นอย่างมาก และเรายังมีนักกิจกรรมบำบัดและนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เพื่อคอยดูแลคนไข้ไปพร้อมกัน โดยแนวทางการดูแลคนไข้ของเรานั้นจะเป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ ร่วมกับการออกแบบวิธีฟื้นฟูให้กับคนไข้แต่ละบุคคลตามลักษณะอาการ ระดับความรุนแรง พร้อมกับการตรวจประเมินและติดตามอย่างต่อเนื่อง


การทำกายภาพบำบัด: การฟื้นฟูคนไข้อัมพฤกษ์ อัมพาต เราพร้อมดูแลคนไข้ในทุกระดับอาการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการอ่อนแรง ขยับร่างกายไม่ได้ โดยทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์และอุปกรณ์ช่วยในการทำกายภาพบำบัดที่มีศักยภาพ หัวใจหลักของการฟื้นฟูคนไข้สมองจะเน้นการฝึกซ้ำๆ บ่อยๆ ในลักษณะเดิมๆ และการฟื้นฟูที่ดีที่สุดคือตั้งแต่เริ่มป่วยจนถึงระยะเวลา 6 เดือน เพราะช่วง 3 เดือนแรกจะมีการฟื้นตัวค่อนข้างเร็ว และเริ่มชะลอลง แต่ยังสามารถพัฒนาได้ แต่จะช้ารวมถึงต้องใช้ตัวช่วยเพิ่มเติม
การฝึกในส่วนแขน: จะฝึกเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและทิศทางของแขน โดยจะเน้นการเหยียด เพราะคนไข้ส่วนใหญ่มีปัญหาการเหยียด
การฝึกคนไข้ส่วนการเดิน: จะฝึกในท่าเดินที่ถูกต้อง และเน้นจำนวนครั้ง ทำซ้ำๆ มากๆ ยิ่งเป็นประโยชน์
อุปกรณ์ช่วยในการบำบัด: การทำกายภาพบำบัดในบางกรณีอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วย อาทิ จักรยานปั่นขา เครื่องช่วยพยุง สลิงช่วยยก Biofeedback ที่จะช่วยวิเคราะห์การยืนลงน้ำหนัก ความยาวในการก้าวเท้า ระยะเวลาในการก้าวเท้า และการกระจายน้ำหนักฝ่าเท้าขณะเดินหรือวิ่ง เป็นต้น ซึ่งการเลือกใช้อุปกรณ์จะอยู่ภายใต้การควบคุมของนักกายภาพบำบัด
กิจกรรมบำบัด: คือทีมที่มีความสำคัญกับการบำบัดและฟื้นฟูคนไข้อัมพฤกษ์ อัมพาต นักกิจกรรมบำบัดจะฝึกให้คนไข้สามารถทำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันพื้นฐานในชีวิตตามศักยภาพ เช่น การกลืน การฝึกการหายใจ รวมถึงการอาบน้ำ การแต่งตัว ซึ่งแนวทางการฟื้นฟูจะพิจารณาตามลักษณะอาการของคนไข้
เวชศาสตร์การสื่อความหมาย: อีกหนึ่งความสำคัญในการช่วยฟื้นฟูคนไข้ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายถือเป็นนักแก้ไขการพูด จะเข้ามามีส่วนช่วยในการฝึกเรื่องการกลืน สำหรับผู้ที่กลืนไม่ได้ หรือกลืนลำบาก พูดไม่ออก นึกคำพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง ฟังคนอื่นพูดไม่เข้าใจ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ได้ มีปัญหากับตัวเลข จำนวนและการคำนวน มีปัญหาการสื่อสารและการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน

อัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่ใช่ภาวะที่สร้างผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจให้กับคนไข้เท่านั้น แต่บุคคลในครอบครัวย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งจากความกังวลในอาการของคนไข้ ความเครียดจากการดูแล สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ รพ.พญาไท3 พยายามพัฒนาศักยภาพการฟื้นฟูหลังการรักษาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระและลดความเครียดให้กับญาติในอีกช่องทาง

show more

Share/Embed