ยางอินเดีย เขียว ดำ แดง ด่าง ไอเท็มที่คนรักต้นไม้ต้องมี Ficus elastica หรือ India rubber plant
Muuyehn Studio Muuyehn Studio
254K subscribers
204,075 views
0

 Published On Jul 10, 2021

๐ ยางอินเดียเขียว ยางอินเดียแดง ยางอินเดียดำ ยางอินเดียด่าง

๐ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Ficus elastica
ชื่อสกุล “Ficus” มาจากชื่อภาษาละติน หมายถึง “ผลแบบมะเดื่อที่กินได้”
ชื่อชนิดพันธุ์มาจากภาษาละติน “lastica” หมายถึง “ยางสีขาวขุ่น” เป็นที่มาของการเรียกต้นไม้หรือว่า “ยาง”
ยางอินเดียเขียว Ficus elastica
ยางอินเดียแดง Ficus elastica ‘Burgundy’
ยางอินเดียดำ Ficus elastica ‘Black Knight’
ยางอินเดียด่าง Ficus elastica ‘variegata’
๐ ชื่อสามัญ (Common Name): India rubber plant
๐ ชนิด (Type): ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ (Evergreen tree)
๐ วงศ์ (Family): Moraceae (วงศ์โพ-ไทร-มะเดื่อ)
๐ ถิ่นกำเนิด (Native Range) : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการกระจายพันธุ์ไปในเทือกเขาหิมาลัย จนถึงมาเลเซียเกาะสุมาตรา และชวา
๐ ความสูงของทรงพุ่ม (Height) : 4.0-20.0 เมตร
๐ ความกว้างของทรงพุ่ม: 4.0-15.0 เมตร
๐ ระยะเวลาดอกบาน (Bloom Time): ดอกไม่โดดเด่น การปลูกในพื้นที่ร่มออกดอกได้ยากมาก
๐ ความต้องการแสง (Sun): ร่มรำไร ในกรณีที่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีพุ่มบ่อยมากสามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ได้รับแดดเต็มวัน
๐ ความต้องการน้ำ (Water): ปานกลาง
๐ การดูแลรักษา (Maintenance): ต่ำ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีการเติบโตช้า
๐ การใช้งานที่แนะนำ (Suggested Use): ปลูกเป็นไม้กระถางเลี้ยงดูในร่ม ควรระมัดระวังการเจริญเติบโตในระยะยาวที่จะมีรากงอกออกมาเป็นจำนวนมาก
๐ ใบไม้ (Leaf): ใบเดี่ยวรูปรี (Elliptic) แผ่นใบมีความกว้างมากที่สุดตรงกลางแผ่นแล้วค่อย ๆ เรียวไปทางปลายและฐานใบ ขอบใบเรียบเนื้อใบหนา ปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ปลายใบสอบเข้าหากันแล้วยื่นยาวออกไปเล็กน้อย

๐ การเพาะปลูก (Culture)
อย่างอินเดียเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีความสูงมาก มีการเจริญเติบโตที่ดีเนื่องจากคุ้นเคยกับอากาศในประเทศไทยเป็นอย่างดีในปัจจุบันมีความนิยมปลูกเลี้ยงเป็นไม้พุ่มในกระถางเพื่อปลูกในอาคารบ้านเรือน ดินผสมปลูกควรมีคุณสมบัติมีอินทรีย์วัตถุสูงมีความร่วนทรุยระบายน้ำดี ควรปลูกเลี้ยงและวางในพื้นที่ร่มรำไรที่มีแสงจ้าพอสมควร แต่ไม่ควรให้ได้รับแสงแดดโดยตรงซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับใบได้ ทั้งนี้การปลูกเลี้ยงในพื้นที่ร่ม ในอาคารสามารถทำได้แต่ต้องสังเกตอาการประกอบอย่างสม่ำเสมอ โดยยางอินเดียที่อยู่ในพื้นที่ร่มและมีแสงเพียงพอจะยังคงมีขนาดของใบใหญ่แผ่กว้าง ตามทรงใบปกติ หากมีแสงไม่เพียงพอจะแสดงอาการยืดกิ่ง จะมีช่วงว่างระหว่างใบมากขึ้น
ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งการปักชำกิ่ง

๐ ปัญหา (Problems)
ระมัดระวังการเข้าโจมตีจากเฟลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย
อาการใบร่วง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งให้ปริมาณน้ำมากเกินไป ซึ่งหากเกิดอาการเช่นนี้ให้ทำการงดน้ำ รวมไปถึงการเปลี่ยนวัสดุปลูกในกระทางให้มีความสามารถในการระบายน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้แล้วสภาวะอื่นๆ อาจทำให้ใบไม้ร่วงได้ เช่น อุณหภูมิต่ำเกินไป อยู่ในพื้นที่ลมเย็น หรือแสงไม่เพียงพอ นอกจากนี้การย้ายต้นไม้จากที่สว่างไปเป็นแสงสลัวอาจทำให้ใบไม้ร่วงได้เช่นเดียยวกัน ในทางกลับกันเป็นเรื่องปกติมาก ๆ ที่ใบด้านล่างบางใบของยางอินเดียจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่น แต่ให้ตรวจสอบว่าเป็นอาการโดยธรรมชาติหรือไม่
หากปลูกในพื้นที่ชื้นหรือปลูกลงในดินที่ ได้รับความชื้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะเจริญเติบโตได้ดีระบบรากหาอาหารเก่งสามารถชอนไชและทำลายหรือสร้างอันตรายให้กับโครงสร้างของอาคารได้ อีกทั้งการปลูกเป็นไม้ยืนต้นจะมีระบบรากอากาศที่แข็งแรงมาก

๐ คติความเชื่อแต่โบราณนานมาเรียกขานคนที่ปลูกอะไรก็งาม ปลูกอะไรก็ขึ้นว่าเป็นคน “มือเย็น” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Green Thumb” หรือพวกหัวแม่โป้งเขียว ก็คือคนมือเย็นน้่นเอง

๐ Muuyehn Studio หรือ มือเย็นสตูดิโอ เป็นช่องที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทั้งมือเย็น มือไม่เย็น มืออุ่น มือร้อน มือไหนๆ ก็ปลูกต้นไม้ได้งอกงามดี ขอแค่ทำความรู้จักและรักที่จะปลูก
ถึงปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วโตช้าก็อย่าได้แคร์ ขอให้ปลูกกันต่อไปนะจ๊ะ

show more

Share/Embed